การวิเคราะห์องค์ประกอบของเพลงพื้นบ้านในจังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่องการวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีเพลงพื้นบ้านในจังหวัดนครสวรรค์ มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาและรวบรวมเพลงพื้นบ้านของจังหวัดนครสวรรค์ และ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและจัดทำเป็นโน้ตสากลประกอบคำร้อง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้อาวุโส ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำท้องถิ่น พ่อเพลงแม่เพลง ผลการศึกษาพบว่า เพลงพื้นบ้านในนครสวรรค์ที่ยังคงมีการละเล่นอยู่ในปัจจุบันได้แก่ เพลงพื้นบ้านตำบล สระทะเลเพลงพื้นบ้านตำบลเขาทอง เพลงพื้นบ้านตำบลหนองบัว และเพลงพื้นบ้านตำบลเนินศาลา ประเภทของเพลงพื้นบ้านแบ่งออกเป็น4 ประเภท ได้แก่ 1) เพลงในช่วงเทศกาลงานบุญ 2) เพลงในช่วงเทศกาลเพาะปลูก 3) เพลงในช่วงเทศกาลเก็บเกี่ยว และ 4) เพลงร้องหรือเล่นทั่วไปไม่จำกัดเทศกาล การวิเคราะห์ลักษณะทางดนตรีจากเพลงพื้นบ้านพบว่า เพลงส่วนใหญ่มีทำนองเดียวสั้นๆ ใน 1 บทเพลงมีจังหวะที่ร้องช้า ปานกลาง และเร็ว ด้วยจังหวะคงที่และไม่คงที่บางครั้งลักษณะของทำนองมีการซ้ำเสียงกันอยู่บ้าง ทุกเพลงของเพลงพื้นบ้านจะใช้อัตราความเร็วของจังหวะเคาะที่สม่ำเสมอ โดยประมาณ 70 ครั้งต่อ 1 นาที จึงทำให้ลักษณะของทำนองไม่กระโดดการใช้ขั้นคู่ในการเคลื่อนที่ของทำนองเพลง มีดังนี้ คือ ขั้นคู่ 2 เมเจอร์ ขั้นคู่ 3 ไมเนอร์ ขั้นคู่ 4 เพอร์เฟกต์ ขั้นคู่ 5 เพอร์เฟกต์ ขั้นคู่6 ไมเนอร์ และการซ้ำเสียง เป็นต้น ลักษณะของการร้องเพลงนั้นมีทั้งร้องเดี่ยวและร้องหมู่การร้องหมู่เป็นแบบลูกคู่ร้องรับและแบบร้องไปพร้อมๆ กัน
Article Details
Issue
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย