การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้กิจกรรมฝึกทักษะกีฬาฟุตบอลโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมความมีวินัยนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

ปัญญา สังขวดี

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้กิจกรรมฝึกทักษะกีฬาฟุตบอลโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร 2. เพื่อการประเมินความเหมาะสมและทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้กิจกรรมฝึกทักษะกีฬาฟุตบอลโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนได้แก่ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้กิจกรรมฝึกทักษะกีฬาฟุตบอลโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะกีฬาฟุตบอล จำนวน 9 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์นำข้อมูลที่ได้ไปสร้างรูปแบบการฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล ได้เนื้อหา ทักษะกีฬาฟุตบอลเบื้องต้น เรียนผ่านโปรแกรมเสมือนจริง ใช้แอพพลิเคชั่น AR โดยเลือกวิธีเรียนผ่าน 20 กิจกรรม ประกอบด้วย การเดาะบอลด้วยหน้าขา, การเดาะบอลด้วยหลังเท้า, การพักบอลด้วยหน้าอก, การรับบอลด้วยเท้าด้านใน, การเปลี่ยนทิศทาง, การฝึกทุ่ม, การฝึกโหม่ง, การยิงจากด้านข้าง, การรับบอลด้วยข้างเท้าด้านใน, การกระชากยิงประตู, การรับบอลด้วยฝ่าเท้า, การรับลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก, การส่งบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก, การส่งบอลด้วยลูกชิพ, หมุนตัวดึงบอล, การเดาะบอลด้วยศีรษะ,การพักบอลด้วยข้างเท้าด้านใน, การเตะบอลลูกเรียดด้วยหลังเท้า, การครอบครองบอลด้วยฝ่าเท้าและการฝึกเตะลูกบอลแบบวอลเลย์ 2) การประเมินความเหมาะสมและทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้กิจกรรมฝึกทักษะกีฬาฟุตบอลโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมความมีวินัย กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย  จำนวน 54 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้กิจกรรมฝึกทักษะกีฬาฟุตบอลโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}  = 4.49, S.D. = 0.57) เป็นการพัฒนาผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงแอพพลิเคชั่น AR ประกอบด้วย 20 กิจกรรม ได้แก่ การเดาะบอลด้วยหน้าขา, การเดาะบอลด้วยหลังเท้า, การพักบอลด้วยหน้าอก, การรับบอลด้วยเท้าด้านใน, การเปลี่ยนทิศทาง, การฝึกทุ่ม, การฝึกโหม่ง, การยิงจากด้านข้าง, การรับบอลด้วยข้างเท้าด้านใน, การกระชากยิงประตู, การรับบอลด้วยฝ่าเท้า, การรับลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก, การส่งบอลด้วยข้างเท้า   ด้านนอก, การส่งบอลด้วยลูกชิพ, หมุนตัวดึงบอล, การเดาะบอลด้วยศีรษะ,การพักบอลด้วยข้างเท้าด้านใน,การเตะบอลลูกเรียดด้วยหลังเท้า, การครอบครองบอลด้วยฝ่าเท้าและการฝึกเตะลูกบอลแบบวอลเลย์ (2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้กิจกรรมฝึกทักษะกีฬาฟุตบอลโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมความมีวินัย มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X} = 4.65, S.D. = 0.47) แสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้กิจกรรมฝึกทักษะกีฬาฟุตบอลโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนิสิต ในการเสริมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Development of a Learning Model for Soccer Skill Training Using Application to Promote the Discipline of Undergraduate Students, Naresuan University


ABATRACT


The purposes of this research were 1. to develop a learning model for soccer skill training using application to promote the discipline of undergraduate students, Naresuan University,   2. to assess and to test the appropriateness of a learning model for soccer skill training using application to promote the discipline of undergraduate students, Naresuan University. The research was divided into two stages. There were 1) the development of a learning model for soccer skill training using application to promote the discipline of undergraduate students, Naresuan University. The sample was the experts of soccer skill training nine people from specific selection. Collecting data by using the questionnaires and then synthesizing data for developing to learning activities of soccer skill training in preliminary soccer skills through virtual application using AR application by choosing twenty activities, there were cracked ball with legs, cracked ball with the instep, stayed ball with the chest, get ball with the instep, change direction, coaching throw, skill tackles, shot from aside, get ball with the side of the instep, pull shot, get ball with their feet, get ball with the outside foot, send ball with the outside foot, send ball with the chips, spun pull the ball, bounced ball with head, stayed ball with the inside foot, kicked ball skim the back foot, crossed the canal by foot, and kicked ball like a volley. 2) The assessment and the test for the appropriateness of the learning activities of Physical Education by using application to promote the discipline. The sample group was the undergraduate students in Physical Education and Exercise Science fifty four people from specific selection. Collecting data by using the soccer skill training test. Analyzing data by finding mean and standard deviation. The results of the research found that (1) the development of a learning model for soccer skill training using application to promote the discipline of undergraduate students, Naresuan University was in a high level (gif.latex?\bar{X}  = 4.49,      S.D. = 0.57) which was developed through virtual technology composing of twenty activities, there were cracked ball with legs, cracked ball with the instep, stayed ball with the chest, get ball with the instep, change direction, coaching throw, skill tackles, shot from aside, get ball with the side of the instep, pull shot, get ball with their feet, get ball with the outside foot, send ball with the outside foot, send ball with the chips, spun pull the ball, bounced ball with head, stayed ball with the inside foot, kicked ball skim the back foot, control by foot, and kicked ball like a volley. (2) the assessment and the test for the appropriateness of a learning model for soccer skill training using application to promote the discipline was in the highest level (gif.latex?\bar{X}  = 4.65, S.D. = 0.47) shown that development of a learning model for soccer skill training using application to promote the discipline of undergraduate students can support the learning activities effectively.

Article Details

Section
-