การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

Main Article Content

วชิระ วิชชุวรนันท์
ภัทวรรณ์ ไชยภักดิ์

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาชั้นปีที่ 5 จำนวน 967 คน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบบังเอิญ และอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน จำนวน 70 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และผู้ใช้บัณฑิตหรือครูพี่เลี้ยง จำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สำหรับนักศึกษา จำนวน 11 ฉบับ จำแนกตามสาขาวิชา แบบประเมินหลักสูตรสำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ประจำ จำนวน 11 ฉบับ จำแนกตามหลักสูตร และแบบประเมินสำหรับผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 1 ฉบับ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ด้านบริบท ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและมีข้อเสนอแนะในเรื่องของการกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้วิชาเฉพาะด้าน ในการกำหนดให้ผู้เรียนต้องมีความสามารถในการคิดค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและการประเมินข้อมูลสารสนเทศ 2. ด้านปัจจัยนำเข้า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและมีข้อเสนอแนะจากนักศึกษาในเรื่องจำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำสาขาวิชามีน้อย จำนวนของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์และห้องปฏิบัติการที่มีน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ประจำ เรื่องการกำหนดรายวิชา บางรายวิชายังเห็นว่ามีการนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย รวมไปถึงจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หนังสือหรือแหล่งค้นคว้าของคณะยังมีไม่เพียงพอ 3. ด้านกระบวนการ ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและมีข้อเสนอแนะในเรื่องของกิจกรรมพัฒนานักศึกษายังไม่ส่งเสริมผู้เรียนในเรื่องของการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การจัดตารางนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และการนิเทศติดตาม ควรมีการกำกับติดตามการนิเทศนักศึกษาของอาจารย์ให้เป็นระบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบปัญหาเรื่องของการนิเทศไม่ครบถ้วนทุกโรงเรียน รวมไปถึงการติดตามผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ควรมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะการกำหนดมาตรการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลย้อนกลับที่สะท้อนจากโรงเรียนที่เป็นหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา รวมไปถึงการจัดกิจกรรมการปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ยังไม่ให้ประโยชน์แก่นักศึกษาเท่าที่ควร 4. ด้านผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษา ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากแต่มีข้อเสนอแนะจากผู้ใช้บัณฑิตที่ต้องการให้หลักสูตรพัฒนานักศึกษาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ความตรงต่อเวลา ความรอบรู้ด้านวิชาชีพครู วิชาเฉพาะสาขาที่ได้รับผิดชอบและความรู้ทั่วไปอย่างกว้างขวาง ความสามารถคิดอย่างมีเหตุผลและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์  สามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ได้ ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อการปฏิบัติงานการตัดสินใจ หรือใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์ และสถิติ และความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในวิชาเอกที่สอนโดยมีการบูรณาการที่หลากหลาย

Bachelor of Education Program Evaluation Kamphaeng Phet Rajabhat University


ABSTARCT


This study aims to evaluate the curriculum of bachelor of education, Kamphaeng Phet Rajabhat University on context, input, process and outcome. The researcher used evaluation model of CIPP model by Danial Stufflebeam. The collected data are from 967 fifth year students in bachelor of education selected by randomly sampling. 70 lecturers and course lecturers, 256 stakeholders and mentoring teachers are specifically selected as the research samples. The research tools include curriculum assessment for lectures and students of each major, and curriculum assessment for the stakeholders and the mentor teachers. The results were as follows : 1. Context : Comment is at high level. There are suggestions on the issue of standards of learning specific subjects. To allow the students to have the ability to think for facts. Understanding and evaluating information. 2. Input : The result is at high level. There are suggestions in the number of students and faculty advisors are few disciplines. Number of audio-visual equipment and a laboratory was not enough to meet demand. Feedback from teachers, curriculum and faculty. The courses schedule Some of the courses that are used less useful. The total number of learning support. Books or resources of the still insufficient. 3.Process : They agreed in high level. They commented about suggestions in the development of activities to promote student learning in terms of creativity. Teachers scheduling supervising student teachers. And supervision there should be a monitoring and supervision of student teachers into the system. This is mainly a problem of supervision is not complete school. Including monitoring of teachers. There should be a follow-up is ongoing Determining remedial measures that reflect feedback from the schools as teachers of students. Including student orientation activities before teachers. Students also benefit as they should. 4. Output : The result is at high level. There are also the comments from stakeholders want to graduate students, curriculum development, increase in punctuality. Aware of the Teaching Profession Specific areas of responsibility and have a general knowledge widely. The ability to analyze and think rationally. Evaluate and synthesize knowledge to be applied appropriately. Emotional Maturity The situation can be different The ability to analyze quantitative data for operational decision making and, athematical and statistical techniques and the ability to manage learning in the majors that are taught by integrating diverse.

Article Details

Section
-