การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

Main Article Content

ราตรี สิทธิพงษ์
ชาลี ตระกูล

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความหลากหลายทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อหาแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยว และทดลองการท่องเที่ยวชุมชนตำบลนาบ่อคำ ใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และทดลองนำเที่ยวแบบชุมชนมีส่วนร่วม  เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวกลุ่มทดลอง จำนวน 33 คน ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำกลุ่ม นักวิชาการ ตัวแทน อบต. และสมาชิกของกลุ่ม พบว่า ความหลากหลายทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น มี 6 ด้าน คือ ด้านโภชนาการพื้นบ้านและการดำรงชีวิต ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้าน ด้านประเพณี พิธีกรรม ด้านคติ ความเชื่อ ด้านการดูแลสุขภาพพื้นบ้าน และด้านการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านที่มีความโดดเด่นที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่ ด้านโภชนาการพื้นบ้านและการดำรงชีวิต ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้าน และด้านการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะการสำรวจ พบว่า ชุมชนหนองปิ้งไก่ และชุมชนบ้านสร้อยสุวรรณ มีศักยภาพสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ เส้นทางการท่องเที่ยวมี 2 รูปแบบ คือเส้นทาง  ครึ่งวันกับเส้นทางหนึ่งวัน จากการทดลองนำเที่ยว โดยใช้นักศึกษาสาขาการตลาดเป็นมัคคุเทศท้องถิ่นอาสา พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สภาพการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก  ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านศูนย์แสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด และสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาเป็นอย่างมาก คือ ในเรื่องที่พัก ร้านอาหาร  ร้านขายของฝากของที่ระลึก ป้ายบอกทาง

Biodiversity, Wisdom and Culture of Naborkham Community Muang District Kamphaengphet Province for Support Ecotourism


ABSTRACT


This research  were to study the diversity of local wisdom and culture, to find the guidelines to develop tourism and to experiment  community tourism of Naborkham sub-district.  This research was quantitative and qualitative research. The research instruments were an interview, a questionnaire and participatory tours. The respondents consisted of 33 trial tourists namely community leaders, local wisdoms, the group leaders, academics, the representative of Sub-district Administrative Organization and the group members. The results were revealed that there were 6 aspects of Biodiversity with local wisdom and culture which were local nutrition and living, local technology, traditions, rites and believes, local  healthcare and biodiversity management. The outstanding aspect which could be promoted ecotourism were local nutrition and living, local technology and biodiversity management. Because surveying it was found that Nongpingkai community and Soisuwan community could be developed for ecotourism. There were 2 routes of tourism which were half-day and one day travelling. After the experiment  of tour with the volunteer students it was found that in general, the satisfaction was at the highest level. When considering each aspect it was found that tourism transportation was at the high level. Service method was at the highest level. Exhibition center was at the highest level. Residences food shops, souvenir shops and signs must be improved.

Article Details

Section
-