คุณลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

จันทิรา จั่นผ่อง
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย

Abstract

บทคัดย่อ


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรของศึกษานิเทศก์ โดยมีวิธีการดำเนินการ ดังนี้ 1. การศึกษาคุณลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรของศึกษานิเทศก์ ดำเนินการโดย 1.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ โดยการศึกษา หลักการ แนวคิดและสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง กับคุณลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรของศึกษานิเทศก์ 1.2 สัมภาษณ์ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูวิชาการของโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองกะท้าว โรงเรียนชุมชน 17 บ้านนาตาดี โรงเรียนวัดเสนาสน์  โรงเรียนบ้านป่าแดง โรงเรียนบ้านบุ่งวิทยา และโรงเรียนชุมชนวัดย่านขาด โรงเรียนละ 2 คน รวม 10 คน 1.3 สัมภาษณ์ศึกษานิเทศก์ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานภายใน กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 6 คน 2. ตรวจสอบความเหมาะสมของคุณลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรของศึกษานิเทศก์โดยเก็บข้อมูลจาก ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คนประกอบด้วย รองผู้อำนวยการ ที่ดูแลรับผิดชอบกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา และผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1, 2, 3 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จำนวนทั้งหมด 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมของคุณลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรของศึกษานิเทศก์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่ามัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการศึกษาพบว่า (1) คุณลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรของศึกษานิเทศก์ ตามหลักกัลยาณมิตร 7  ได้แก่               ปิโย (ความน่ารัก) มี 4 คุณลักษณะ ประกอบด้วย ให้ความเป็นกันเอง (4 พฤติกรรม) มีความยุติธรรม (3 พฤติกรรม) มีบุคลิกภาพที่ดี (5 พฤติกรรม) และวางตัวให้เหมาะสม
(1 พฤติกรรม) ครุ (น่าเคารพ) มี 2 คุณลักษณะ ประกอบด้วย ประพฤติดี (7 พฤติกรรม) พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ (4 พฤติกรรม) ภาวนีโย (น่ายกย่อง) มี 3 คุณลักษณะ ประกอบด้วย มีความรู้ ความสามารถ (6 พฤติกรรม) ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง  (3 พฤติกรรม) และมีคุณธรรม จริยธรรม (1 พฤติกรรม) วตฺตา (รู้จักพูดให้ได้ผล) มี 2 คุณลักษณะ ประกอบด้วย เป็นนักสื่อสารที่ดี (5 พฤติกรรม) และมีความสามารถในการพูด  (8 พฤติกรรม) วจนกฺขโม  (อดทนต่อถ้อยคำ) มี 3 คุณลักษณะ ประกอบด้วย มีความอดทนต่อถ้อยคำ
(2 พฤติกรรม) เป็นผู้ฟังที่ดี  (3 พฤติกรรม) การบริหารความขัดแย้ง (3 พฤติกรรม) คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา (แถลงเรื่องลึกล้ำได้)  มี  3 คุณลักษณะ ประกอบด้วย รู้จักผู้ฟัง
(2 พฤติกรรม) มีความรู้ในเรื่องที่พูด (3 พฤติกรรม) และมีเทคนิคการพูดการนำเสนอ (9 พฤติกรรม) โน จฏฺฐาเน นิโยชเย (ไม่ชักนำไปในเรื่องเหลวไหล) มี 2 คุณลักษณะ ประกอบด้วย ชักนำไปหาสิ่งที่ดี (4 พฤติกรรม) และไม่ชักนำไปในเรื่องเหลวไหล (1 พฤติกรรม) 2. การประเมินความเหมาะสมของคุณลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรของศึกษานิเทศก์ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด  คุณลักษณะมีข้อค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ไม่เกิน 1.50

Kalayanamitra Characteristics of the Supervisors Under the Office of the Basic Education Commission


ABSTRACT


The purpose of this research were to study the characteristics of Kalayanamitra characteristics of the supervisors. Resources include three sources: 1. Studying principles ,concepts, and main point  related with the characteristics of Features of Kalayanamitra of the supervisors from Both Thai and Foreign related literature. The unit of random are from five schools and the directors and academic teachers. 3) Six supervisors of Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3 are chosen from six head of section of Supervision, Monitoring and Evaluation for Educational Provision Group. Tools used in research were : 1) Content synthesized table 2) Group interview form. Data is analyzed via content analysis method. The results indicate the features of Kalayanamitra characteristics of the supervisors were specifiable in 7 aims of Kalayanamitra as follows : Piyo (Loveliness) has four features include  friendly (4 behaviors) fairness (3 behaviors) good personality (5 behaviors) and proper posture (one behavior) Karu (Respectable) has two features include well conducted (7 behaviors) andself development (4 behaviors) Phawaneeyo (Estimable) has three features include knowledge, ability (6 behaviors) keeping abreast of change (3 behaviors)  and Virtue ethics (1 behavior) Watta (effective speaking) has two features include a good communicator (5 behaviors) and Have the ability in speaking. (8 behaviors). Watchanakakkamo (Endure the words.) has three features include an Endure the words (2 behaviors) a good listener (3 behaviors) and a Conflict Management man (3 behaviors) Kampeerunja Kuttung Kutta (Deep Statement) has three features include Know your audience (2 behaviors), knowledge of said (3 behaviors), and technically presentation (9 behaviors) Know Jattanae Niyochayae (do not mislead) has two features include lead to the good thing (4 behaviors) and do not mislead (one behavior). 2. The features of Kalayanamitra characteristics of the supervisors suitabilityassessment were found that the suitability was a high to highest level. The features median was equivalent to or above 3.50 and inter-quartile range could not exceed 1.50.

Article Details

Section
-