กลวิธีการตั้งชื่อเรื่องสารคดีชีวประวัติในคอลัมน์ เรื่องจากปกของนิตยสาร ฅ.คน Magazine

Main Article Content

วชิราภรณ์ ช้างหัวหน้า
สุภาพร คงศิริรัตน์
วนิดา บำรุงไทย

Abstract

บทคัดย่อ


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการตั้งชื่อเรื่องสารคดีชีวประวัติในคอลัมน์ เรื่องจากปก ของนิตยสาร  ฅ.คน Magazine จำนวน 63 เรื่อง ผลการศึกษาพบกลวิธีการตั้งชื่อเรื่อง 3 ลักษณะ ได้แก่  กลวิธีการนำชื่อเจ้าของชีวประวัติมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง พบจำนวน 51 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 81 ส่วนอีก 12 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 19 ไม่ได้นำชื่อเจ้าของชีวประวัติมาใช้ในการตั้งชื่อเรื่อง กลวิธีการบอกเนื้อหาของชื่อเรื่อง ซึ่งพบ 3 ลักษณะ ได้แก่ บอกประเด็นเนื้อหาของเรื่องแบบชัดเจนตรงไปตรงมา พบจำนวน 35 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 56 บอกประเด็นเนื้อหาของเรื่องแบบชวนฉงนสนเท่ห์หรือแบบคลุมเครือ พบจำนวน 14 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 22 และบอกประเด็นเนื้อหาของเรื่องแบบแฝงนัย พบจำนวน 14 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 22  และการนำกลวิธีทางภาษามาใช้ในการตั้งชื่อเรื่อง พบ 5 ลักษณะ ได้แก่ การเล่นสัมผัสคล้องจอง จำนวน 29 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 46 การใช้โวหารความเปรียบ จำนวน 8 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 13 การซ้ำคำ จำนวน 2 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 3 การเล่นคำ จำนวน 1 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 2 การผสมผสานกลวิธีทางภาษาที่หลากหลาย จำนวน 18 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 29 ส่วนอีก 5 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 8 ไม่ปรากฏการใช้กลวิธีทางภาษา


Techniques for Giving Titles to Biographies in the Column “Cover Story” of Khor Khon Magazine

ABSTRACT


This article aims to study the techniques for giving titles to 63 biographies in the column “Cover Story” of Khor Khon Magazine.  The findings reveal 3 types of techniques: using the name of the person featured in the biography as part of the title (51 titles or 81%); not using the name of the person featured in the biography as part of the title (12 titles or 19%); telling the contents of the story, which can be further divided into 3 techniques: directly telling the contents of the story (35 titles or 56%), ambiguously telling the contents of the story (14 titles or 22%), and implying the contents of the story (14 titles or 22%); employing linguistic techniques to give a title to the biography, which can be further divided into 5 techniques: using rhymes (29 titles or 46%), using figurative language (8 titles or 13%), repeating words (2 titles or 3%), using puns (1 title or 2%), and using mixed linguistic techniques (18 titles or 29%); and not using any linguistic technique to give a title to the biography (5 titles or 8%).

Article Details

Section
-