การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์สำหรับชุมชน

Main Article Content

ชูชาติ พะยอม

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรในชุมชนซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปรวมถึงปัญหาของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชนจังหวัดสุรินทร์ศึกษาความต้องการการใช้ปุ๋ยอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ พัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของชุมชนและพัฒนาความรู้การบริหารจัดการและด้านการตลาดให้กับกลุ่มเกษตรกรในชุมชนโดยได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยเน้นให้กลุ่มเกษตรกรในชุมชนจังหวัดสุรินทร์ที่ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เข้ามามีส่วนร่วมซึ่งการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และศึกษาข้อมูลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของประชาชนในจังหวัดสุรินทร์เพื่อประเมินสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และระยะที่ 2 การพัฒนา      แนวทางการบริหารจัดการและตลาดของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชนจังหวัดสุรินทร์ประชาชนแต่ละครัวเรือนที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปุ๋ยอินทรีย์ที่ประสบผลสำเร็จจำนวน 1 แห่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามผู้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์        แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านผลิตปุ๋ยอินทรีย์การสนทนากลุ่มและแผนการฝึกอบรมความรู้ด้านการบริหารจัดการตลาดให้กับกลุ่มเกษตรกรในชุมชนและประชาชนในชุมชนสภาพทั่วไปของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 50องค์การบริหารส่วนตำบล คิดเป็นร้อยละ 35 กลุ่มวิสาหกิจ    คิดเป็นร้อยละ 10  และองค์การบริหารส่วนจังหวัด คิดเป็นร้อยละ5  และพบว่าการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชนส่วนมากจะผลิตปุ๋ยรูปแบบของปุ๋ยคอกอัดเม็ดคิดเป็นร้อยละ 95 และการประเภทปุ๋ยหมักชีวภาพในชุมชนส่วนมากจะผลิตรูปแบบของสารเร่งการเจริญเติบโต คิดเป็นร้อยละ 35 ส่วนสถานภาพการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มีสถานภาพส่วนใหญ่คือกำลังผลิตและดำเนินงานอยู่คิดเป็นร้อยละ 55 ชะลอการผลิต คิดเป็นร้อยละ 40 และเลิกผลิต คิดเป็นร้อยละ 5 สภาพความต้องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชนเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากกว่า 500 กิโลกรัมต่อปีส่วนการเลือกซื้อปุ๋ยอินทรีย์เพื่อนำไปใช้ พบว่าร้อยละ 94.00 คำนึงถึงคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 79.33 คำนึงถึงมาตรฐานการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ร้อยละ 88.00 คำนึงถึงราคาของปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 55.34ไม่คำนึงถึงบรรจุภัณฑ์ของปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 52.00 ไม่คำนึงถึงแหล่งผลิต/ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยเห็นว่าราคาปุ๋ยอินทรีย์เหมาะสมส่วนข้อคิดเห็นอื่นๆ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 32.66 เห็นว่าควรปรับปรุงสูตรปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 28.00 เห็นว่าควรปรับปรุงมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์การพัฒนากระบวนการผลิตจากการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรพบว่าสภาพปัญหาและอุปสรรคของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชนที่ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐาน จากเวทีประชาคมกลุ่มได้เห็นว่าจำเป็นต้องพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชนซึ่งเกษตรกรในชุมชนจะได้ประโยชน์จากการพัฒนากระบวนการผลิตในครั้งนี้คือโรงงานการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ได้มาตรฐานและเมื่อมีการพัฒนากระบวนการผลิตในรูปแบบใหม่ก็จะสามารถแปรรูปได้ปุ๋ยอินทรีย์ได้ปุ๋ยที่คุณภาพและมาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์จะเป็นแนวทางเลือกใหม่ให้กับผู้ต้องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการเกษตรซึ่งมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจโรงปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมดังนี้คือ รูปแบบวิสาหกิจชุมชน รูปแบบจำหน่ายให้ผู้ที่อยู่ในชุมชน การจำหน่ายให้กับผู้ที่สั่งซื้อโดยตรงที่อยู่ในระดับจังหวัดหรือต่างจังหวัดรูปแบบในลักษณะเครือข่ายการตลาดปุ๋ยอินทรีย์เป็นการผลิตเพื่อส่งต่อให้เครือข่ายที่มีประสบการณ์และมีความสามารถดำเนินการตลาดให้  และปัจจัยที่จะทำให้กลุ่มเกษตรกรในชุมชนแต่ละชุมชนประสบผลสำเร็จในวิสาหกิจชุมชนได้มีดังต่อไปนี้ปัจจัยด้านการผลิต ปัจจัยด้านการตลาด ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านการเงิน ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  ปัจจัยที่เกี่ยวกับความเป็นผู้นำปัจจัยด้านแรงงาน  ปัจจัยที่เกี่ยวกับการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก   ปัจจัยที่เกี่ยวกับสมาชิกปัจจัยที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารการพัฒนาความรู้การบริหารจัดการด้านการตลาดของกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชนได้มีการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับกลุ่มเกษตรกร  กลุ่มเกษตรกรเกิดการเรียนรู้ในเรื่องการบริหารจัดการและด้านการตลาดจากวิทยากรและใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการของกลุ่มที่เหมาะสมต่อไป

Article Details

Section
-
Author Biography

ชูชาติ พะยอม