ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตสามเหลี่ยมอันดามัน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาภาพรวมการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการของประเทศไทย 2) ศึกษาการเป็นหุ้นส่วนเชิงบูรณาการของการท่องเที่ยวในเขตสามเหลี่ยมอันดามัน3) เพื่อศึกษาการบูรณาการการท่องเที่ยวในเขตสามเหลี่ยมอันดามัน และ 4) เพื่อแสวงหายุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตสามเหลี่ยมอันดามันการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย 1) การวิจัยเอกสาร 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้บริหาระดับสูงของภาครัฐภาคเอกชน รวม 18 คน 3) การสนทนากลุ่ม คือ ผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐตัวแทนของประชาชนในชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และตัวแทนบริษัทนำเที่ยวใน 3จังหวัดๆ ละ 1 กลุ่มๆ ละ 12 คน รวมทั้งสิ้น36 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการสุ่มแบบเจาะจงวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและอุปมานวิเคราะห์ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเป็นกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจงจากผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐภาคเอกชน และประชาชนหรือตัวแทนชุมชนด้านการท่องเที่ยว รวม 54 คนเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อค้นพบจากการวิจัยมี ดังนี้ 1) ภาพรวมการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการของประเทศไทยยังไม่สามารถบูรณาการระหว่างภาคส่วนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การเป็นหุ้นส่วนเชิงบูรณาการการท่องเที่ยวในเขตสามเหลี่ยมอันดามันพบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนหรือประชาชนในแหล่งท่องเที่ยว ในการบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืนยังไม่เป็นรูปธรรมขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง 3) การบูรณาการการท่องเที่ยวในเขตสามเหลี่ยมอันดามันขาดการวางแผนร่วมกันเชิงยุทธศาสตร์องค์การทั้งสามระดับขาดการประสานยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการร่วมกัน ทั้งระดับประเทศกับระดับจังหวัดหรือท้องถิ่น 4)ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตสามเหลี่ยมอันดามันพบว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย มีจุดมุ่งหมายที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมและส่งเสริมความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากกว่าความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนมีส่วนได้ส่วนเสียในแหล่งท่องเที่ยวจึงควรสนับสนุนส่งเสริมภาคเอกชนและภาคประชาชนที่เป็นชุมชนท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมมากที่สุดเพื่อประโยชน์ของเศรษฐกิจชุมชนและการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในเขตสามเหลี่ยมอันดามัน
Article Details
Issue
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย