ภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์ในแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ : การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษบนป้ายข้อความ
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์ (Linguistic Landscape) ในแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่และเพื่อวิเคราะห์ประเภทของการใช้ codemixing ที่ปรากฏบนป้ายข้อความกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ป้ายข้อความจำนวนทั้งสิ้น 262ป้ายที่ปรากฏในพื้นที่ที่ได้มีการกำหนดไว้ในจังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี2 ประเภท ได้แก่ 1) แบบบันทึกการวิเคราะห์ป้ายข้อความ 2) กล้องถ่ายภาพดิจิตอลการวิเคราะห์ข้อมูลกระทำ ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยมีการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์ ทางสถิติ (ค่าความถี่ และค่าร้อยละ) ผลการวิจัยพบว่าลักษณะป้ายส่วนใหญ่เป็นแบบสองภาษาคือภาษาไทยและภาษาอังกฤษป้ายส่วนใหญ่ทำหน้าที่ในการให้ข้อมูลและการพาณิชย์ นอกจากนี้งานวิจัยยังพบ codemixingในหลากหลายชนิดบนป้ายข้อความที่มีปรากฏซึ่งเป็นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญและอิทธิพลของภาษาอังกฤษในลักษณะที่เป็นภาษาสากลงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของภาษาอังกฤษมีส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาภาษาไทยไม่เพียงแต่ในรูปแบบของการยืมคำศัพท์แต่ยังรวมถึงเรื่องอักขระการออกเสียง และวากยสัมพันธ์
Article Details
Issue
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย