การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1. การสร้างรูปแบบการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education 2. การทดลองใช้รูปแบบ 3. การประเมินรูปแบบ แหล่งข้อมูล เป็นเอกสาร บุคลาการจากโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 5 คน ครูและผู้บริหารสถานศึกษาจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 โรงเรียน รวม 80 คน นักวิจัยจำนวน 5 คน ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์จากเขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุโขทัย จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 240 คน เครื่องมือเป็นแบบบันทึกผลการศึกษาเอกสาร แบบประเมินความต้องการและแบบประเมินความรู้และทักษะการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ แบบสัมภาษณ์โรงเรียนต้นแบบ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความรู้และทักษะของครู แบบประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ แบบวิเคราะห์คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน และแบบบันทึกข้อมูลการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบเป็นแบบแผนแสดงความสัมพันธ์กันขององค์ประกอบที่มีกระบวนการจัดการ PDCA พัฒนาการดำเนินงานของรูปแบบ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้างของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กระบวนจัดการ และผลที่ได้รับ โดยรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ระดับมาก 2) หลังนำรูปแบบไปทดลองใช้ พบว่า ครู และผู้บริหารโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและทักษะการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม และหลังการทดลองใช้รูปแบบสูงกว่าหลังการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีผลการสัมภาษณ์ พบว่า ครูและผู้บริหารสถานศึกษาพึงพอใจกระบวนการ PLC เพราะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในวางแผนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education ที่เน้นปฏิบัติจริง 3) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากทั้งโดยภาพรวมและจำแนกตามรายด้าน และผลที่ได้รับของรูปแบบมีประสิทธิผลตามตัวชี้วัดในด้าน (1) ประสิทธิผลการจัดการรูปแบบที่มีคู่มือการใช้และมีทีม PLCประสานงาน 2 ทั้งระดับ และกระบวนการจัดการโดยใช้วงจร PDCA (2) ครูมีความรู้และทักษะที่เพิ่มขึ้นจากการอบรมและการลงมือปฏิบัติที่มีการ PLC อย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้และผลการนิเทศติดตาม และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากต่อการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทาง STEM Education
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
Castetter, W.B. & Young, I.P. (2000). The Human Resource Function in Education Administration. (7 nd ed.). New Jersey : Prentice-Hall.
Deming, Edward W. (1995). Out of The Crisis. USA : The Massachusetts Institute of Technology Center for Advanced Engineering Study.
Husen, T. & Postlethwaite, N.T. (1994). The International Encyclopedia of Education. New York : Pergamon Press.
RoodPuang, J. (2017). Development of a Professional Learning Community Model for Promotion Learning Management, Systems Thinking, and the Construction Innovation Skills of the pre-service teacher. Veridian E-Journal, Silpakorn University,10(1), 281-296.
Intanam, N. (2010). Development of the Core for the Creation of a Professional Learning Community in Schools. Thesis, Chulalongkorn University.
Williams, N. & Chatrupracheewin, C. (2017). The Development of the Internal Supervision by Professional Learning Community Building in the Primary School Under the Office of Basic Education Commission. The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.) 23(2), 112-128.
Chanchaluen, N. (2002). Internal Systematic Supervision for the Development of Professional Teachers of Ban Wangsan School Amphur Bang Krathum
Phitsanulok Province. Thesis, Naresuan University.
Office of the Education Council. (2016). Research Report to Propose Policy for Promotion of STEM Education in Thailand. Bangkok : prigwhan Graphic Co., Ltd.
Office of the Education Council. (2017). National Education Program, 2017-2022. Bangkok : prigwhan Graphic Co., Ltd
Nampan, P., Khruein, N. & Khruein, C. (2014). The Science of Learning Management Model namely Materials and Properties of Materials by using STEM Education of Prathom Suksa 5 students. National Conference on Educational Research 1st. Faculty of Education. Pattani Campus, 29-30 May 2014, at Hat Yai Songkhla, Songkhla Province.
Quinn, R.E. (1996). Becoming a master manager : A Competency Framework. New York : John Wiley and sons.
Jitaree, R., Uaiy, V. & Keawurai, W. (2018). The Development of Instruction Model based on Constructivist Learning Theory and STEM Education Approach to Enhance Analysis Thinking and Scientific Literacy for Matayomsuksa 1 Students. Journal of Education Naresuan University, 19(2), 202-213.
Phatharakundutsadee, R. (2018). A Study of the Problems of Teaching and Learning in STEM Education by the PLC (Professional Learning Community) Process in Schools under the Office of Nan Primary Education Service Area 1. Nan : The Office of Nan Primary Educational Service Area 1.
Sergiovanni, T. (1998). Building Community in Schools. San Francisco. CA : Jossey Bass.
Kasemsin, S. (1983). New Personnel Management. (5 th ed.). Bangkok : Thai Wattana Panich.
Panich, V. (2012). The 21st Century for Learning in the 21st Century. Bangkok : Tatata Publication.
Warayu, V. & Kornpuang, A. (2017). The Development of Professional Community of Donmoon School (Suwannasarajbamrung) by Using Benchmarking with Lamplaimatpattana School. Journal of Education Naresuan University, 19(4), 239-252.