การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช โดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้

Main Article Content

บุญญิสา วงเวียน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ในด้านความสามารถของปัญญาด้านภาษา ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านมิติ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านความเข้าใจระหว่างบุคคล ด้านความเข้าใจตนเอง ด้านธรรมชาติและด้านอัตถภวนิยม จิตนิยมหรือการดำรงอยู่ของชีวิต ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ในช่วงการทดลองสูงขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เลือก 1 ห้องเรียน หลังจากนั้นสุ่มนักเรียนจาก 24 คนมาจำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้การทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 4 วันๆ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแผนการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้และแบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ Wilcoxon Matched Pairs Signed–Ranks Test ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถทางพหุปัญญาทั้ง 9 ด้าน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเกือบทุกช่วงของการเปรียบเทียบ และมีพัฒนาการทางพหุปัญญาในเกือบทุกด้านอยู่ในระดับสูง ยกเว้นด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านมิติ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านความเข้าใจระหว่างบุคคล ด้านความเข้าใจตนเอง และด้านอัตถภวนิยม จิตนิยมหรือการดำรงอยู่ของชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นในแต่ละช่วงของการเปรียบเทียบ

Article Details

Section
-