การศึกษาการให้ความช่วยเหลือจากรัฐภายหลังเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ ปี พ.ศ. 2554 ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์

Main Article Content

ปิยะบุตร มกราพันธุ์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างของการให้ความช่วยเหลือจากเหตุการณ์อุทกภัยของรัฐ ศึกษาถึงปัจจัยทางด้านความพึงพอใจ ทัศนคติและข้อคิดเห็นของประชาชนในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาทุกข์ภายหลังน้ำท่วม รวมถึงปัจจัยทางด้านอื่นๆที่มีผลกระทบต่อความพอใจโดยรวมของประชาชนจากการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจากรัฐ โดยการวิจัยครั้งนี้จะอาศัยแบบจำลองโลจิต (Logit) ในการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของแต่ละตัวแปร ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้เป็นข้อมูลปฐมภูมิ โดยทำการเก็บรวบรวมจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาล จังหวัดนครสวรรค์จำนวน 500 ตัวอย่าง โดยทำการวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบต่างๆผ่านทางแบบจำลองโลจิต (Logit) เพื่อทราบถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต้น (ข้อคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนในการได้รับความช่วยเหลือและแก้ปัญหาต่างๆจากรัฐ) และตัวแปรตาม (ความพึงพอใจโดยรวมของประชาชนที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาจากรัฐ) โดยผลการศึกษาในครั้งนี้ พบว่าตัวแปรต่างๆในแบบจำลองมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ข้อคิดเห็นของประชาชนและการแก้ไขปัญหาจากรัฐมีผลกระทบต่อความพึงพอใจโดยรวมของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาและบรรเทาทุกข์จากรัฐต่อเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ ปี พ.ศ. 2554 ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ คือ การนำเอารูปแบบและผลการศึกษาไปเป็นข้อมูลหรือแนวทางการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาทุกข์ภายหลังน้ำท่วม และวางแผนเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเพื่อพัฒนาระบบขั้นตอนการช่วยเหลือต่อน้ำท่วมให้มีประโยชน์และประสิทธิภาพต่อประชาชน

Article Details

Section
-