สภาพ ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกสู่อาเซียน

Main Article Content

ดร.ภารดี อนันต์นาวี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพ ปัญหาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกสู่อาเซียน ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา ระดับการจัดการศึกษา ขนาดของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ และศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกสู่อาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสำหรับแบบสอบถามเป็นครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก จำนวน 380 คน สำหรับการสัมภาษณ์เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน และสนทนากลุ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพและปัญหาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และแบบสัมภาษณ์สภาพ ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกสู่อาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกสู่ประชาคมอาเซียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  () ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way ANOVA) การวิเคราะห์สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาพัฒนาการบริหารจากการสัมภาษณ์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Inductive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า  สภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกสู่อาเซียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เปรียบเทียบสภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกสู่อาเซียนจำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้านการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามระดับการจัดการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นการสร้างประชาคมอาเซียนด้านการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  จำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ปัญหาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกสู่อาเซียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เปรียบเทียบปัญหาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกสู่อาเซียนจำแนกตามวุฒิการศึกษา ระดับการจัดการศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการสร้างประชาคมอาเซียนด้านการศึกษา และการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้านการศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูลจากการศึกษาได้ข้อเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกสู่อาเซียน 4 ด้าน ได้แก่ ควรพัฒนาการศึกษาของประเทศให้เป็นศูนย์กลางอาเซียนศึกษาในภูมิภาคโดยประสานนโยบายสู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ควรพัฒนาคุณลักษณะของเยาวชนไทยให้รองรับประชาคมอาเซียน  ควรส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาร่วมกันโดยส่งเสริมการเป็นแหล่งการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนและควรจัดให้มี การสร้างประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรมทั้งในระดับส่วนกลาง ภูมิภาคและระดับสถานศึกษา

Article Details

Section
-