การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ภาพสวยตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ร่วมกับการบริหารสมอง

Main Article Content

ดวงกมล คงฤทธิ์
สมบูรณ์ ตันยะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ภาพสวยตามจินตนาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับการบริหารสมอง (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ภาพสวยตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับการบริหารสมอง (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ภาพสวยตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับการบริหารสมองกับเกณฑ์ร้อยละ 70 (4) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับการบริหารสมอง (5) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับการบริหารสมองกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนชุมชนคงวิทยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำนวน 43 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ครั้งนี้  ได้แก่  แผนการจัด การเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับการบริหารสมอง รายวิชาศิลปะ ศ14101 สาระทัศนศิลป์หน่วยการเรียนรู้ภาพสวยตามจินตนาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวม15 ชั่วโมง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 1 ข้อและแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t-test)  สรุปผลการวิจัย พบว่า1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  หน่วยการเรียนรู้ภาพสวยตามจินตนาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับการบริหารสมองมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 50.95 คะแนน  จากคะแนนเต็ม 75 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 67.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 6.35 และหลังการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 57.70 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 77.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 6.71 และพบว่านักเรียนมีความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  คิดเป็นร้อยละ 9.18 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ภาพสวยตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ร่วมกับการบริหารสมองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน  3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ ภาพสวยตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4หลังการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับการบริหารสมองสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน 4.  ความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการเรียนรู้แบบ 4 MAT ร่วมกับการบริหารสมอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนความคิดสร้างสรรค์ก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ร่วมกับการบริหารสมอง มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) เท่ากับ 77.72 จากคะแนน 130 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 11.04 และคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ  88.21 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 12.88 และความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) เท่ากับ 10.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 7.52  5. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับการบริหารสมอง  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

เกษรธิ ตะจารี. (2543). กิจกรรมศิลปะสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้
ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เธียร พานิช. (2544). 4 MAT การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของ
ผู้เรียน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
นริศรา ทัดพิชญางกูร. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้องค์ประกอบศิลป์
และความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ฝึกหัดครู,กรม.(2522). รายงานการวิจัยเรื่องความคิดสร้างสรรค์ของเด็กไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
มัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์.ราชภัฏนครราชสีมา.
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). พฤติกรรมกลุ่ม. กรุงเทพฯ : วิสิทธิ์พัฒนา.
พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์. (2544). การบริหารสมอง. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการศึกษาพิเศษ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.