ภาพลักษณ์ วิถีชีวิต ของกลุ่มดอกไม้กลายพันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ วิถีชีวิตของกลุ่มดอกไม้กลายพันธ์ ผู้วิจัยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีทางวิทยาการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Approach) ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์จากการบันทึก ทางประวัติศาสตร์กฎหมาย วิทยานิพนธ์ เอกสารวิชาการ นิตยสาร และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ตลอดจนการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ของตัวแทนกลุ่มสาวประเภทสองในประเทศไทย โดยเป็นบุคคลที่สังคมยอมรับทั้งวงการวิชาการและวิชาชีพ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเขียนบรรยายแบบเล่าเรื่อง เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับสาวประเภทสองในสังคมไทยปัจจัย และผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของสาวประเภทสอง ทัศนคติ อาชีพ การศึกษา มุมมองทางสังคม การตีตรา และการกีดกั้นสาวประเภทสองออกไปจากสังคม พบว่ามุมมอง ความคิดเห็นของคนทั่วไปที่มีต่อสาวประเภทสอง โดยผู้วิจัยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) ซึ่งใช้หลักองค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคม ดังนี้
ด้านปัจเฉกบุคคล พบว่าสภาวะการไร้ตัวตนของกลุ่มสาวประเภทสองในสังคม ซึ่งถูกกระทำผ่านกระบวนการพัฒนาและปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหลากหลายรูปแบบจากอดีตสะท้อนมาถึงปัจจุบันนั้น โดยองค์รวมสังคมมองว่า ความเป็นตัวตนของสาวประเภทสองส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่ดูแลบุคลิกภาพที่ดี ทั้งรูปร่างหน้าตาแลผิวพรรณสวยงาม เป็นบุคคลที่รักสวยรักงามตลอดเวลา มีจิตใจร่าเริง/แจ่มใสถ้าได้สัมผัสหรือเมื่อเข้ามาเรียนรู้เพื่อให้สังคมเปิดใจยอมรับมาก
ด้านปัจจัยด้านสังคม พบว่าวิถีการดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ สาวประเภทสองนับว่าเป็นบุคคลที่เก่ง รอบรู้รอบด้าน มีความเฉลียวฉลาดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เก่ง เอาตัวรอดได้ดี ดังนั้นจึงสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกันบุคคลรอบข้างและจากประสบการณ์จริงได้ง่าย อดีตสังคมจะไม่ยอมรับแต่ด้วยเวลาผ่านไปจวบจนปัจจุบันนั้นในสังคมปัจจุบันมีการเปิดรับ และเปิดกว้างมากขึ้น แต่มีเพียงบางกลุ่มชนที่เปิดรับแต่ไม่เปิดใจแต่มีน้อย สาวประเภทสองส่วนใหญ่มองว่าศักยภาพและความสามารถ เป็นเครื่องมือในการสร้างความสุขและคุณค่าของชีวิตของตนเองและเป็นเครื่องหมายการันตรีให้กับสังคมในการยอมรับตัวตน และทำให้การดำเนินวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันในสังคม ตลอดจนเป็นที่รักของคนในสังคมหรือการยอมรับจากสังคม
ด้านทัศนคติ พบว่าสมัยก่อนพอสังคมมองภาพลักษณ์สาวประเภทสองไม่ดี บางคนหันไปทำแต่เรื่องไม่ดี เลยตีตรากลุ่มเหล่านี้ไปในทิศทางที่ดูแย่ลง ส่วนกลุ่มสาวประเภทสองในสังคมต่างจังหวัดก็ไม่ได้เปิดกว้างมากนักจนกลายเป็นทัศนคติเชิงลบ ส่วนกลุ่มสาวประเภทสองในย่านเมืองพบว่ามีการยกระดับเหล่านั้นมีการพัฒนาในด้านอาชีพที่เป็นที่ยอมรับมากขึ้น เช่น เป็นนางโชว์ ช่างแต่งหน้า ตลอดจนการเป็นพิธีกรที่พูดให้คนยอมรับนั้นหมายความว่าเขายอมรับในเพศนั้น ซึ่งมีทัศนคติเชิงบวกในการยอมรับกันในสื่อโซเชียลหรือสื่อมัลติมีเดียทำให้เกิดภาพลักษณ์ทางสังคมที่ดีขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
Archavanitkul, K. (2011). Sexuality changing in Thai society. In the Journal of Population and Society. (Pages 43-65). Nakhon Pathom : Population and Social Publishing House.
Buapun, C. (2002). Transsexual when the body does not match the mind. Klai Mhor, 3(11), 50-57.
Duangwiset, N. (2014). Criticize the "femininity" of a woman in a male body. [Online]. Available : http://www.sac.or.th/main/content_detail.php?Content_id=782 [2020, November 17].
Preechasilpakul, S. (2012). Study, development, recognition and protection of community rights under the Constitution of Kingdom of Thailand 2007. Chiang Mai : Faculty of Law Chiang Mai University.
Romjumpa, T. (2002). Discourses on gay men in Thai society 1965-1999. Thesis letter degree Master of Arts Department of history Chulalongkorn University.
Thai society is littering the city of gay, bisexual, lesbian. (1984). All over the city. Consumers, 1(3), 80-83.
Wankaew, S. (2007). Kon Chai Khob : from thought to truth. (2 nd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University.
Yodhong, C. (2013). Mr in the reign of King Rama 6. Bangkok : Matichon.