การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมร่วมกับเทคนิคระดมสมองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Main Article Content

พิมพ์พรลภัส ลักษณะวิเชียร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายคือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมร่วมกับเทคนิคระดมสมองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 1 ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมร่วมกับเทคนิคระดมสมองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 1 ผู้วิจัยได้สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมด 6 กิจกรรม นำเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พิจารณาความเหมาะสมในองค์ประกอบต่างๆ ของกิจกรรมนำกิจกรรมทั้งหมดไปหาประสิทธิภาพกับนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมด้านภาษาและเวลา จากนั้นทดลองใช้กับนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 9 คน และนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 35 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมตามเกณฑ์ 75/75 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้กิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี  ปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบบแผนในการวิจัยคือ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อและแบบประเมินความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 1 ซึ่งมีกระบวนการสำคัญ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นกำหนดปัญหา ขั้นที่ 2 ขั้นพิจารณาประเด็น ขั้นที่ 3 ขั้นหาเหตุผลสนับสนุน ขั้นที่ 4 ขั้นร่วมแสดงความคิดเห็นแบบออนไลน์ ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปวิธีการแก้ปัญหา และขั้นที่ 6 ขั้นจัดเก็บความรู้ออนไลน์ ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.24, S.D. = 0.55) และเมื่อนำไปทดลองมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.17/78.10 2) ความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Atthaphut, P., Sittiwong, T. & Theeraputhon, D. (2017). Effects of Using Social Media in Conjunction with Proactive Learning in Designing and Producing Computer Graphics for Undergraduate Students. Naresuan University Journal of Education, 19(2), 145-154. [In Thai]

Bunditpatanasilpa Institute. (2019). Bachelor of Education Program (4-year program), revised edition 2019. Sukhothai : Sukhothai College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa Institute. [In Thai]

Chaichom, S. (1989). Effects of Brainstorming Methods on Multidisciplinary Problem-Solving Thinking of Preschool Children. Master of Education Thesis Early Childhood Education Graduate School Srinakharinwirot University. [In Thai]

Charoensap, T. (2014). Learning Management by Professional Teachers. [Online]. Available :

https://e-learning.srru.ac.th/mod/resource/view.php?id=57670 [2020, March 25].

Dyer, W. & John, V. (1988). Counseling technique that work application to individual and Group counseling. Washington, DC : APGA Press.

Ministry of Digital Economy and Society. Report of the Survey Results of Internet Use in Thailand in 2019. Electronic documents. [Online]. Available : https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-behavior-2019-press-release.html [2020, January 2]. [In Thai]

Ministry of Social Development and Human Security. (2018). Social Media and the Future of Thai Children and Youth. Electronic documents. [Online]. Available : https://tpso1.m-society.go.th/index.php/en/tpso-news/2017-05-16-15-16-07/17-11111 [2019, December 25]. [In Thai]

National Statistical Office. (2018). Summary of the Use of Information and Communication Technology in the Household 2018 (1st quarter). Bangkok : National Statistical Office, Ministry of Digital Economy and Society. [In Thai]

Ngoksilp, J. (2010). Education 1. Chaiyaphum : Chaiyaphum. [In Thai]

Poore, M. (2013). Using Social Media in the Classroom. Singapore : SAGE Publications Asiapacific Pty Ltd.

Potter, W. James. (1998). Media Literacy. California : Sage.

Rasmeewiengchai, A. (2012). Media Literacy of Secondary School Students in Prachatipat Wittayakarn Community School. Bangkok : Research Project, Thammasat University. [In Thai]

Ruangsuwan, C. (2010). Design and Development of Computer and Network Lessons. Mahasarakham : Mahasarakham University. [In Thai]

Saiyot, L. & Saiyot, A. (1995) Educational Research Techniques. (5 th ed.). Bangkok : Suri Wiyasan. [In Thai]

Setkumbong, T. (2012). Results of E-learning with Collaborative Learning through Social Media on the Ability to Use Information and Communication Technology of Undergraduate Students, Department of Education/Education Science. Silpakorn University Journal, Thai version, Social Sciences and Arts, 5(2), 569-584. [In Thai]

Songkhram, N. (2011). Multimedia Design and Development for Learning. (2 nd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press. [In Thai]

Srihiran, W. (2009). Knowledge Literacy of Newspapers of the People in Bangkok. Bangkok : Siam University. [In Thai]

Srisaat, B. (2002). Preliminary Research. Bangkok : Suwiriyasan. [In Thai]

Topothai, W. (2013). Development of Learners Using a Training Package : Title Online Media Literacy. [Online]. Available : http://www.stou.ac.th/eknowledge/Upload/2013/17 [2019, December 13].

UNESCO. (1982). Bulletin of the Unesco Regional office for Education in Asia and The Pacific (Special Issue). Bangkok : Unesco. [In Thai]

Wagner, R. (2011). Social Media Tools for Teaching and Learning. Athletic Training Education Journal, 6(1), 51-52.

Wongprathet, S. (2014). Results of Teaching and Learning Management Using Social Media According to the Theory of Social Media. Self-Knowledge on Creating Presentations for Mattaytom 1 Students. Master of Education Program Thesis Ramkhamhaeng University. [In Thai]