การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

Main Article Content

อัจฉรีย์ พิมพิมูล
วชิระ โมราชาติ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และนักศึกษาจำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้องของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าระดับความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความคิดเห็นได้แก่ การประเมินความเหมาะสมของการจัดลำดับความยากง่ายของเนื้อหา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 และการประเมินความเหมาะสมของเนื้อหา 6 บทเรียน 46 เนื้อหาย่อย ความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 2) ผลการพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้ข้อสอบผ่านการประเมินจำนวน 60 ข้อ มีค่าความสอดคล้องของข้อสอบกับจุดประสงค์ อยู่ในช่วง 0.60 ถึง 1.00 และ 3) ผลการประเมินค่าระดับความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.23 ถึง 0.77  มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Ngamsert, S. (2017). Development of Achievement Tests. RTNA Journal of Social, Humanities, and Education 4(1), 48-66.

Panhoon, S. (2016). Assessment for Improving Students’ Learning. Journal of Education, Burapha University. 27(2), 13 - 29.

Panprasert, T. (2014). The Development of Thai Language Achievement Test for Grade 6 Accordance to Core Basic Education Curriculum B.E. 2551. Veridian
E-Journal. Graduate School, Silpakorn University, 7(1), 261-279.

Ruangram, M. (2013). The Development of Achievement Test in Thai Language Subject According to the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 for Grade 8 Students. Master's thesis, Silpakorn University.

Simmatun, P. (2009). A Development of Web-based Collaborative Instructional Model based on Constructivist Theory for Undergraduate Students. Doctoral
Dissertation King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Surpare, K. (2015). Development of Adaptive Blended Learning with Social Networks Model to Enhance Computation Thinking Skill and Writing Program Skill. Doctoral Dissertation King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.