การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานภายใต้บริบทการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การนำเสนอข้อมูล สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานภายใต้บริบทการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การนำเสนอข้อมูล และศึกษาผลการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่ได้รับแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานภายใต้บริบทการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาในครั้งนี้ คือผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิษณุโลก รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยใช้ระยะเวลาทั้งหมด 10 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ใช้สถิติพื้นฐานคือ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต การหาร้อยละ การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีดังนี้ 1) ควรใช้สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของผู้เรียนเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อให้ผู้เรียนมีความคุ้นเคย กระตุ้นความสนใจและทำให้เข้าใจสถานการณ์ปัญหาได้ง่ายขึ้น 2) สถานการณ์ปัญหาควรกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงความรู้ภายในคณิตศาสตร์ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามหลักการทางคณิตศาสตร์ผ่านการเขียนโดยใช้ตัวเลข ภาษา และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ และสามารถเชื่อมโยงความรู้จากศาสตร์อื่นมาใช้แก้สถานการณ์ปัญหา ทั้งนี้ผู้สอนควรกระตุ้นผู้เรียนโดยใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ 3) สถานการณ์ปัญหาจะสร้างบรรยากาศให้เกิดการโต้แย้งแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อนำไปสู่การอภิปรายสรุปผล และผลการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ พบว่า ผู้เรียนพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงความรู้ภายในคณิตศาสตร์มากที่สุด รองลงมาเป็นการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น และพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
Baikulab, K. (2019). Effects of problem-based learning activities on mathematics problem solving abilities and mathematics learning achievements on equations of grade 6 students. Master’s thesis, Curriculum and Instruction Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage. [In Thai]
Baisoongnarn, L. (2020). The using of Inquiry Cycle (5E) for mathematics learning activity to develop mathematical connection ability in rectangle for Grade 4 students. Independent Study, M.Ed. in Mathematics, Naresuan University. [In Thai]
Chaudsoongnoen, A. (2015). The development of mathematics learning activities based on linear equations with one variable for matthayomsuksa 1 students. Independent Study, M.Ed. in Educational Research and Evaluation, Naresuan University. [In Thai]
Kaewsaensai, K. (2019). Learning activities by using context-based learning approach to development mathematical connection skill on the topic of probability of grade 10 students. Independent Study, M.Ed. in Mathematics Naresuan University. [In Thai]
Kenedi, A.K. (2020). Mathematical Connection Ability of Elementary School Students During the Covid-19 Pandemic. Universitas Samudra Langsa, Indonesia.
Khumsaen, N. (2021, January- April). Knowledge, Attitudes, and Preventive Behaviors of COVID-19 among People Living in Amphoe U-thong, Suphanburi Province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 4(1), 33-48. [In Thai]
Khunwiset, N. (2021). Thestudy of mathematical knowledge connection skills by teaching styles that develop of mathematical knowledge connection skills in inequality for mathayomsuka 3 students. Master’s thesis, Mathatics study Silpakorn University. [In Thai]
Latif, S. (2016, July). Mathematical Connection Ability in Solving Mathematics Problem Based on Initial Abilities of Students at Smpn 10 Bulukumba. Jurnal Daya Matematis, 4(2), 207-217.
Marcelo C. Borba. (2021). The future of mathematics education since COVID-19 : humans-with-media or humans-with-non-living-things. Educational Studies in Mathematics.
Pengkhwan, K. (2017). The Development of mathematical connection skills and problem-solving skills by problem-based learning. Master’s thesis, Mathematics Education Ubon Ratchathani University. [In Thai]
Phuphiw, N. (2019). Using resource-based learning approach to develop the 7th grade students’ mathematical connection skill in statistics. Independent Study, M.Ed. in Mathematics Naresuan University. [In Thai]
Sinambela, K. (2020). The Effect of Problem Based Learning (PBL) on the Ability to Solve Mathematics Problems in the Pandemic Time COVID-19. State University of Medan, North Sumatra, Indonesia.
Srirat, P. (2019). The Development of Learning Management Model to Support Reasoning Abilities and Mathematics Connection Abilities of Muthayomsueksa 3 Students. Doctor of Philosophy, Curriculum and Instruction Mahasarakham University. [In Thai]
Thongdrajang, N. (2013, October-December). The development of mathematical connection skills in probability using problem-based learning activities for mathayomsuksa 3. Sripatum Chonburi Journal, 13(2), 163-172. [In Thai]