การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้หลักสูตร ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา ปีการศึกษา 2564 อย่างน้อยจำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จากนักเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีเครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) แบบวัดคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง 3 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดความพอประมาณ แบบวัดความมีเหตุผล และแบบวัดการมีภูมิคุ้มกันที่ดี การวิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ 1) ความพอประมาณ 2) ความมีเหตุผล 3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี และมีแนวทางในการพัฒนาเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง โดยพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงออกแบบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผสานแนวคิดคุณลักษณศึกษาของลิคโคนา 2. หลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีองค์ประกอบของหลักสูตร 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)หลักการของหลักสูตร 2)จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3)เนื้อหาสาระประสบการณ์ 4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ผล จากการประเมินหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและผลการทดลองนำร่องพบว่า มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ 3. ผลการทดลองใช้พบว่า 1) คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนที่ผ่านการเรียนด้วยหลักสูตรหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในภาพรวมมีคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงอยู่ในระดับมาก (= 45.91, S.D. = 5.92) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การมีภูมิคุ้มกันที่ดี มีระดับคุณภาพมาก (
= 50.40, S.D. = 7.64) รองลงมาคือ ความมีเหตุผล (
= 45.33, S.D. = 6.69) และความพอประมาณ (
= 42.5, S.D. = 3.45) ตามลำดับและ 2) คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 129.37 คะแนน และ 137.73 คะแนน ตามลำดับและเมื่อเปรียบเทียบกันพบว่า หลังเรียนด้วยหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การประเมินผลหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนรู้หลังการทดลองใช้หลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.70, S.D. = 0.39)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
Beauchamp, George A. (1981). Curriculum Theory. (4 th ed.). Illionis : F.E.Peacock.
Bloom, Benjamin S., David R. Krathwohl & Masia (1973). Taxonomy of educational objectives : The classification of educational goals, by a committee of college and university examiners. Handbook 1 : Cognitive domain. New York, Longmans.
Buason, R. (2008). Research and development of educational innovations. Bangkok : modern words. [In Thai]
Buasri, T. (1999). Design and Development Course Theory. (2 nd ed.). Bangkok : Thanat. [In Thai]
Kaewurai, W. (2006). Curriculum development and teaching. Phitsanulok : Education Naresuan University. [In Thai]
Kaewurai, W., Wattanatorn, A., Kiatmaneerat, K., Suwanasri, N. & Thammasit, P. (2011, September–December). Development of a learning management model according to the philosophy of sufficiency economy in the teacher profession Northern University Group. Journal of Graduate Studies, Nakhon Sawan Rajabhat University, 6(17), 13-29. [In Thai]
Khamanee, T. (2016). Deciphering the philosophy of Sufficiency Economy to teach thought processes. (3 rd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press. [In Thai]
Kohlberg, Lawrence. (1969). The Psychology of Moral Development Volume II. SanFrancisco: Harper & Row.
Lickona, T. (1992). Educating for character: How our school can teach respect and responsibility. NY : Bantam Book.
Lunsakawong, C. (2015). A constriction of the sufficient life instruments align to the basic education core curriculum B.E.2551 (A.D. 2008) for lower secondary students. Master Thesis, M.A., Burapha University, Chonburi. [In Thai]
Office of the Basic Education Commission. (2008). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok : Ministry of Education. [In Thai]
Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok : Office of the Education Council [In Thai]
Phojai, N. (2017). A development of curriculum based on lickona’s character education approach to enhance responsibility of lower-secondary education students. Doctoral dissertation Thesis, Ph.D., Naresuan University, Phitsanulok. [In Thai]
Sufficiency Economy Driving Subcommittee. (2007). Compilation of the royal speeches of His Majesty King Bhumibol Adulyadej From the year 1950-2006 related to the philosophy of economy. (5 th ed.). Bangkok : Office of the National Economic and Social Development Board. [In Thai]
Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York : Harcourt, Brace & World.
Tyler, Ralph. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago : University of Chicago Press.
Utranan, S. (1989). Fundamentals and principles of curriculum development. Bangkok : Education Chulalongkorn University. [In Thai]
Wongyai, W. (1995). Develop new curriculum and teaching. Bangkok : Rungruengtham Printing House. [In Thai]