อิทธิพลของบรรยากาศองค์การ การรับรู้คุณค่าในตน การปรับตัวในการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขของพนักงาน

Main Article Content

บุญลดา คุณาเวชกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับบรรยากาศองค์การ การรับรู้คุณค่าในตน การปรับตัวในการทำงาน และระดับความสุขของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การ การรับรู้คุณค่าในตน การปรับตัวในการทำงานกับความสุขของพนักงาน และ 3) เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การ การรับรู้คุณค่าในตน การปรับตัวในการทำงานที่มีอิทธิพลและสามารถทำนายความสุขของพนักงานในบริษัทที่ทำการศึกษา โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานในบริษัท จำนวน 226 คน ใช้สถิตค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (The Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสายปฏิบัติงานด้าน Technology พนักงานส่วนใหญ่รับรู้บรรยากาศองค์การอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้คุณค่าในตน การปรับตัวในการทำงาน และความสุขในการทำงานอยู่ในระดับมาก ผลการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้คุณค่าในตน การปรับตัวในการทำงานกับความสุขของพนักงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง ส่วนบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขของพนักงานอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนตัวแปรที่สามารถทำนายความสุขของพนักงานได้เป็นอันดับหนึ่งและดีที่สุด คือ การรับรู้คุณค่าในตนด้านการมีความสามารถ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.882 และสามารถพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของพนักงาน ได้ร้อยละ 76.9 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนาย เท่ากับ 0.233

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Apaipakdi, K. (2020) Happy Environment in Workplace : Happy Workers and Achieving Goals. Journal of MCU Humanities Review, 6(1), 315-331. [In Thai]

CooperSmith, S. (1984). SEI Self-esteem inventories. (2 nd ed). California : Consulting Psychologicology Press.

Dasa, C. (2009). Happy Workplace. [Online]. Available : http://www.il.mahidol.ac.th/th/images/ stories/echange/7-05-52_Column_6.pdf [2019, November 19].

Dawis, R.V. & Logquist, L.H. (1984). A psychological theory of work adjustment: An individual-differences model and its applications. United States of America : University of Minnesota Press.

Kingsbury, Joseph B. (2013). Personnel Administration for Thai Student. Bangkok : Institute of Public Administration. [In Thai]

Likert, R. (1932). A technique for measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-55.

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of nursing Administration, 33(12), 652-659.

Oswald AJ, Proto E, & Sgroi D. (2015). Happiness and productivity. Journal of Labor Economics, 33 (4). 789-822.

Pimonratnakan, S. & Jadesadalug, V. (2017) The Influence of The Perception Organizational Climate through Job Satisfaction and Organization Commitment In-Role Performance. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 1611-1629. [In Thai]

Sornsuthi, S. & Aungsuroch, Y. (2011) Relationships between personal factors, personality. self esteem. and work happiness of staff nurses in intensive care units, government hospitals Bangkok Metropolis. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 12(1). 51-57. [In Thai]

Srijan, A Tridech, P. & Pandii, W. (2013). Joy At Work of Registered Nurses in Bumrungrad International Hospital. Journal of Health and Nursing Research, 29(2), 44-57. [In Thai]

Stringer, R.A. (2002). Leadership and organization climate: The cloud chamber effect. New Jersey : Prentice Hall.

Subson, W. & Na-Nan, K. (2018). The Influence of Personality, Organization Climate and Job Satisfaction Toward Foreign Teachers’ Work Adaptability in Bilingual School Chain. Sripatum Chonburi Journal, 15(1), 186-192. [In Thai]

Tanasupawat, B. (1994). Organize psychology. Bangkok : Odeonstore. [In Thai]

Tangpoo, S. & Sutthasart, A. (2018). Work Happiness of the Public Company Personnel. Rommayasan, 16(1), 63-83. [In Thai]

Yamane, T. (1973). Statistics : An tntroductory Analysis. (3 rd ed.). USA : Harper & Row.