การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการกระทำความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ปองสุข ศรีชัย
วิยะดา มีศรี
รจนา บุญลพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับเยาวชนในจังหวัดเชียงรายและ 2) เสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการกระทำความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน 29 คน โดยกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 16 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 แบบสอบถามความเป็นพลเมืองดิจิทัล และชุดกิจกรรมเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลในเยาวชน มีองค์ประกอบ 3  มิติ ได้แก่ มิติการจัดการตัวตนให้ปลอดภัย มิติของการดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวเองและความมีจริยธรรม และมิติการจัดการกับข้อมูลที่เข้ามา ผลการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับเยาวชนในจังหวัดเชียงราย พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนความเป็นพลเมืองดิจิทัลระยะก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ระยะหลังเข้าร่วมกิจกรรมและระยะติดตามผลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ระยะติดตามผลมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (M = 4.431, S.D. = 0.379) รองลงมาคือระยะหลังเข้าร่วมกิจกรรม (M = 4.326, S.D. = 0.490) ส่วนระยะก่อนเข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด  (M = 4.121, S.D. = 0.541) 2) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมของคะแนนความเป็นพลเมืองดิจิทัลของกลุ่มตัวอย่างหลังการเข้าร่วมกิจกรรมโดยมีคะแนนก่อนเข้าร่วมกิจกรรมเป็นตัวแปรควบคุม พบว่า เมื่อควบคุมอิทธิพลของคะแนนเฉลี่ยพลเมืองดิจิทัลก่อนเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มอย่างแล้ว กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยของพลเมืองดิจิทัลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Amnuaiphanwilai, A., Yuangsoi, P., Keawurai, R. & Phumpuang, K. (2022). The development model of cloud based learning by using collaborative learning and critical thinking to enhance digital media literacy for secondary. The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.), 28(3), 81-94. [In Thai]

Chaowakeeratiphong, T. & Wongnaya, S. (2020). Guidelines to develop digital citizenship of students at the faculty of education, Kamphaeng Phet Rajabhat University. The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.),

(4), 72-85. [In Thai]

Ekakul, T. (2009). Research methodology in behavioral sciences and social sciences. (6 th ed). Ubon Ratchathani : Witthaya Offset Printing. [In Thai]

National Statistical Office. (2021). The 2021 Household Survey on the Use of Information and Communication Technology (Quarter 2). Bangkok : National Statistical Office. [In Thai]

Netwong, T. (2013). The Using of e-Learning to Develop Digital Citizenship and Learning Achievement in Information Technology. International Journal of e-Education, e-Business, e-Management and e-Learning, 3(2), 135-137. [In Thai]

Permpoonwiwat, S., Mansap, S. & Kaewmano, J. (2021). Citizenship and Digital Literacy Survey. Research report, King Prajadhipok’s Institute. [In Thai]

Rodsaen, A. (2014). The Development of Collaborative Learning Model to Enhance Citizenship Instructional Competences for Basic Educational Teacher. Doctor of Education’s thesis, Naresuan University. [In Thai]

Sarika, V., Mangkhang, C. & Dibyamandala, J. (2021). Social studies learning package development in economics integrating with historical process to enhance digital citizenship foe secondary student. Journal of MCU Nakhondhat, 8(5), 73-86. [In Thai]

Tapingkae, P., Panjaburee, P., Hwang, G. & Srisawasdi, N. (2020). Effects of a formative assessment-based contextual gaming approach on students’ digital citizenship behaviors, learning motivations, and perceptions. ScienceDirect, 159, 1-16. [In Thai]

Thailand Computer Emergency Response Team (ThaiCERT). (2020). Incident Report Statistics. [Online]. Available : https://www.thaicert.or.th/statistics/statistics.html [2020, August 6]. [In Thai]

Wongkitrungruang, W. (2019). Digital Citizenship. Bangkok : Di Wan O One percent. [In Thai]