การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานสถานีวิทยุชุมชนภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

ณัฐรดา วงษ์นายะ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความต้องการในการดำเนินงานของประชาชนที่มีต่อวิทยุชุมชนภาคเหนือตอนล่าง 2. เพื่อประเมินการดำเนินงานและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิทยุชุมชนภาคเหนือตอนล่าง 3. เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานวิทยุชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ประชาชน จำนวน 400 คน บุคลากรวิทยุชุมชนภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 124 คน บุคลากรวิทยุชุมชนภาคเหนือที่มีแนวปฎิบัติที่ดี 9 สถานี จำนวน 25 คน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ คณะกรรมการ หัวหน้าสถานี นักจัดรายการ และอาสาสมัครจัดรายการวิทยุ นักวิชาการ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่มและการประชุมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินงานวิทยุชุมชนภาคเหนือตอนล่าง มี 4 องค์ประกอบหลักดังนี้ 1) ด้านบุคลากร มาจากบุคคลที่หลากหลายกลุ่ม ที่มีผู้มีจิตอาสา มีอุดมการณ์การทำงานร่วมกัน  มีความโปร่งใส มีอิสระ สามารถสื่อสารความเข้าใจแก่คนในชุมชน 2) ด้านการจัดการสถานี เป็นสถานีวิทยุขนาดเล็ก ต้นทุนต่ำ อุปกรณ์ใช้งานง่าย ไม่มีการโฆษณา 3) ด้านรูปแบบรายการ มีเนื้อหาสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน  ใช้ภาษาถิ่น  เปิดโอกาสให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็น 4) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน  เน้นการร่วมคิด ร่วมบริหาร  ร่วมแบ่งปัน-เรียนรู้-สนับสนุนการทำงาน ร่วมเป็นเจ้าของและร่วมใช้ประโยชน์จากวิทยุชุมชน

Article Details

Section
-