รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรม : กรณีศึกษาวัดวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของวัดวังพระธาตุ 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวต่อรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรมของวัดวังพระธาตุ และ 3. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรมของ วัดวังพระธาตุ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามถามนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกภาคีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของวัดวังพระธาตุ จำนวน 15 คน การสนทนากลุ่มย่อยภาคีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของวัดวังพระธาตุ จำนวน 15 คน และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการภาคีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของวัดวังพระธาตุ จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของวัดวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการจำกัดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว ด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวต่อรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรมของวัดวังพระธาตุ พบว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เสนอแนะว่าควรบริหารจัดการวัดวังพระธาตุในรูปแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างชุมชนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ และวัดรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรมของวัดวังพระธาตุ พบว่า รูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของวัดวังพระธาตุ คือ รูปแบบ “นครไตรตรึงษ์”
Article Details
Issue
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย