ภาวะผู้นำด้านการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กร อัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนของผู้บริหารระดับคณะวิชา สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

Main Article Content

เมธี ฉายอรุณ

Abstract

วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัย เรื่อง “ภาวะผู้นำด้านการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรอัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนของผู้บริหารระดับคณะวิชา สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ”มุ่งเพื่อศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำด้านการศึกษา และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรอัจฉริยะเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน ของผู้นำนักบริหารระดับคณะวิชา สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ในช่วงปี พ.ศ. 2554 - 2555 ในมิติของภาวะผู้นำด้านการศึกษา และการใช้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรอัจฉริยะเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดความยั่งยืนเป็นสำคัญ สำหรับระเบียบวิธีวิจัยที่นำมาใช้นั้นเป็นวิธีการศึกษา ในเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกเฉพาะเจาะจงที่กลุ่มผู้นำ/ผู้บริหารจากทุกภาคส่วนจำนวน 47 คนประกอบด้วยข้าราชการระดับสูง ผู้นำนักการเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี นักธุรกิจ ผู้บริหารจากภาคสื่อมวลชน ผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถึงแม้ว่าจะเน้นการสัมภาษณ์ผู้บริหารภาควิชาการระดับสูงของสถาบันการศึกษาเป็นกรณีพิเศษก็ตามสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณได้ใช้วิธีแจกแบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่ทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้บริหาร และทีมงานสังกัดคณะวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวนทั้งสิ้น 259 คน อย่างละเอียดรอบคอบพิถีพิถันผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า ส่วนใหญ่แล้ว ทั้งที่ผ่านมาในอดีต จนถึงปัจจุบันผู้บริหารระดับคณะวิชา รวมทั้งหัวหน้าภาควิชาในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จะใช้วิธีการบริหารและการประสานงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นอย่างเคร่งครัด รวมทั้งกลุ่มนักศึกษา ทีมงาน และเพื่อนร่วมงาน        ที่สำคัญคือจะใช้ภาวะผู้นำในการบังคับบัญชาโดยใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง ใช้กฎระเบียบและไม่เป็นการกระจายอำนาจรวมทั้งไม่นิยมใช้วิธีการบริหารแบบมอบหมายงาน โดยสรุปเพื่อที่ผู้นำนักบริหารภาควิชาการของคณะวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลจะสามารถบรรลุถึงความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจ จำเป็นต้องพัฒนาความเป็นเลิศที่มีความสำนึกรู้ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านทรัพยากรมนุษย์ซึ่งหมายถึงว่าผู้นำ นักบริหารภาควิชาการเหล่านี้จะต้องมีวิสัยทัศน์แห่งอนาคตอย่างแจ่มชัด มีการบริหารภาวะวิกฤตด้านการเปลี่ยนแปลงที่ทันตามสถานการณ์ และเปิดโอกาสให้ทีมงานทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์รวมถึงต้องเป็น “กูรูผู้เปรื่องปัญญาอย่างแท้จริง” ดังนั้นรูปแบบ (Model) ของงานวิจัย ฉบับนี้จึงสามารถสรุปประเด็นสำคัญในการนำเสนอไว้ดังนี้คือจาก “ผู้บริหารเชิงวิชาการที่ใช้ตนเองเป็นศูนย์กลาง” สู่ “ผู้รังสรรค์ที่เปี่ยมสำนึกสูงล้ำด้านทรัพยากรมนุษย์” หรือ From “The Self - Centered Academic Administrators”  To “The Highly Human Capital Conscious Creators”

Article Details

Section
บทความทางวิชาการ (Academic article)