ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

พระสุวรรณ์ ปูนอ่อน

Abstract

ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย โรงเรียนพระปริยัติธรรม 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระปริยัติธรรม 3. เพื่อค้นหาตัวแปรที่ดีที่สุดที่ส่งผลต่อ จิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ประชากรที่ใช้จำนวน 767 รูป กลุ่มตัวอย่างจำนวน 260 รูป ได้จากการสุ่ม แบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้มี 1 ชุด แบ่งเป็น 3 ตอน ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามจิตสาธารณะและแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R2) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาจิตสาธารณะของนักเรียน พบว่ามีจิตสาธารณะ อยู่ในระดับ “สูง” 2) ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมพบว่า มีปัจจัยด้านจิตสาธารณะอยู่ในระดับ “สูง” เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่าส่วนมากมีจิตสาธารณะอยู่ในระดับสูง โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านประสบการณ์ทางสังคม ด้านการสนับสนุนจากครอบครัว การปฏิบัติตนตามหลักสังคหวัตถุ และด้านที่มีค่าน้อยที่สุดคือ ด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม 3) ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์จิตสาธารณะของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ การปฏิบัติตน ตามหลักสังคหวัตถุ (X1) ความรับผิดชอบ (X2) การสนับสนุนจากครอบครัว (X4) การสนับสนุนจากครู และเพื่อน (X5) เหตุผลเชิงจริธรรม (X7)สามารถนำมาสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานดังนี้

          Ý   = .208 + .345X1 + .261X2 + .129X4 + .132X5 + .104X7

          Zy  =.350Z1 + .289Z2 + .150Z4 +.141Z5 +.091Z7

Article Details

Section
บทความทางวิชาการ (Academic article)