ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต

Main Article Content

อดิเรก ฟั่นเขียว

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บริบทการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งความคาดหวังของชุมชน และเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ในอนาคต โดยการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารและบุคลากรที่มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 16 คน ผลการศึกษา พบว่า การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์มีจุดแข็ง 16 ข้อ จุดอ่อน 25 ข้อ โอกาส 15 ข้อและอุปสรรค 10 ข้อ ความคาดหวังของชุมชนที่สำคัญ 6 ข้อ ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ 6 ข้อ และเสนอประเด็นยุทธศาสตร์ 6 ข้อ (ADIREK Model) ได้แก่ 1) การพัฒนาองค์ความรู้และนำทรัพยากรของชุมชนชายแดนมาสู่การเรียนรู้ (Adoption) 2) การขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ชุมชนชายแดน (Development) 3) การบูรณาการพันธกิจองค์กรให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ชายแดน (Integration) 4) การปรับภาพลักษณ์องค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง (Rapidity)   5) การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (Excellence) และ 6) การสร้างความร่วมมือทางวิชาการและขับเคลื่อนองค์กรสู่ระดับสากล (Keeping on)

Article Details

Section
-