สภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

ผกาวดี สะเภาคำ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคเหนือของประเทศไทย 7 ด้าน คือ 1. ครูผู้สอนพลศึกษา 2. การจัดทำสาระหลักสูตร 3. จำนวนชั่วโมงการเรียนการสอน 4. การจัดโปรแกรมพลศึกษา 5. สถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก 6. การจัดการเรียนรู้ และ    7. การประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้แบบสอบถาม ประชากรได้แก่ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 242 คน ข้อมูลกลับคืนร้อยละ 81.81 วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ และฐานนิยม ผลการวิจัยพบว่า             1) ด้านครูผู้สอนวิชาพลศึกษา จบวุฒิการศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาเกือบทุกโรงเรียน มีภาระงานสอน 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ 2) ด้านการจัดทำสาระหลักสูตร โรงเรียนส่วนใหญ่จัดทำสาระหลักสูตรด้วยตนเอง 3) ด้านจำนวนชั่วโมงการเรียนการสอน คณะกรรมการฝ่ายวิชาการทำหน้าที่ในการกำหนดจำนวนชั่วโมงเรียนวิชาพลศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาทุกชั้นปี สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง และมีโรงเรียนบางส่วนกำหนดเป็นสาระเพิ่มเติม สัปดาห์ 1 ชั่วโมง ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ส่วนใหญ่ มีการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา เป็นสาระพื้นฐาน ทุกชั้นปี ภาคเรียนละ 10 ชั่วโมง และยังมีโรงเรียน ร้อยละ 65.15 กำหนดโครงสร้างการเรียนการสอนพลศึกษาเป็นสาระเพิ่มเติม 4) ด้านการจัดโปรแกรมพลศึกษา โรงเรียนทั้งหมดมีการดำเนินการจัดโปรแกรมการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียน มีโรงเรียนเพียง 14 โรงเรียน ที่ไม่มีการจัดโปรแกรมการแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียน สำหรับโรงเรียนที่ไม่ได้จัดโปรแกรมพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ มี จำนวน 120 โรงเรียน 5) ด้านสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่ในการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเป็นสนามกลางแจ้ง มีความปลอดภัย เหมาะสม ถูกสุขลักษณะ เพียงพอ และมีมาตรฐาน 6) ด้านการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนวิชาพลศึกษาจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในปริมาณ 75% ใช้วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน สมรรถนะของนักเรียนด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และการมีวินัยเป็นประเด็นที่ครูผู้สอนพลศึกษาได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนามากที่สุด 7) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ เกณฑ์การตัดสินระดับคะแนนเป็นแบบอิงเกณฑ์ และอิงกลุ่ม องค์ประกอบในการตัดสินระดับคะแนน ประกอบด้วยด้านทักษะ ความรู้ คุณธรรมและจริยธรรม สมรรถภาพทางกาย และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งกำหนดการให้คะแนนเท่ากับ 20, 40, 10, 10 และ 10 ตามลำดับ ประเมินความรู้ด้วยข้อสอบแบบอัตนัยและปรนัย มีการประเมินทักษะทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทดสอบสมรรถภาพทางกายและทางกลไกโดยใช้แบบทดสอบ

Article Details

Section
-