แนวทางพัฒนาการดำเนินงานการส่งเสริมอาชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

กรีฑา แก้วประดิษฐ์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการส่งเสริมอาชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 2. เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานการส่งเสริมอาชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานการส่งเสริมอาชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจากผู้บริหาร จำนวน 7 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 11 คน และสมาชิกปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ จำนวน 32 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน และแบบสัมภาษณ์จากปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าฝ่าย ข้าราชการ และสมาชิก รวมทั้งสิ้น 17 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดย   การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาแบบพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า

1) สภาพการดำเนินงานการส่งเสริมอาชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก กล่าวคือ ด้านการส่งเสริมสร้างทัศนคติต่ออาชีพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าสูงสุด คือ การส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มอาชีพ เช่น ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ของชุมชน สำหรับด้านการส่งเสริมพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าสูงสุด คือ การส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มอาชีพ เช่น ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ของชุมชน และต่ำสุดด้านการจัดทำแผนพัฒนาการส่งเสริมอาชีพ โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดทำทะเบียนแยกประเภทของอาชีพจากวัตถุดิบ สถิติการผลิต การจำหน่าย 2) ปัญหาการดำเนินงานการส่ง เสริมอาชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ระดับปานกลาง กล่าวคือ ด้านการรวบรวมจัดทำทะเบียนกลุ่มอาชีพ โดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขาดการจัดทำทะเบียนแยกประเภทของอาชีพจากวัตถุดิบ สถิติการผลิตการจำหน่าย สำหรับด้านการจัดแบ่งกลุ่มอาชีพ โดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขาดมาตรฐานการรับรองจากหน่วยงานของรัฐทั้งในและต่างประเทศ และต่ำสุดด้านการส่งเสริมสนับสนุนในการรวมกลุ่มอาชีพ โดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขาดการสร้างความเข้มแข็งของการประกอบอาชีพ เช่น แลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์การแก้ปัญหา

Article Details

Section
-