ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในการเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย

Main Article Content

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์

Abstract

ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในการเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย ถือเป็นการคอร์รัปชันประเภทหนึ่ง เนื่องจากเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนบุคคลโดยการละเมิดกฎหมายและจริยธรรม ซึ่งในสถานการณ์ที่มีผลประโยชน์ส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องส่งผลให้มีการใช้อำนาจไปแทรกแซงการใช้ดุลพินิจในกระบวนการตัดสินใจ และทำให้ละทิ้งคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่สาธารณะ ขาดความเป็นอิสระ ความเป็นกลางและความเป็นธรรม ส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ทำให้ผลประโยชน์หลักขององค์การ หน่วยงาน สถาบันและสังคม โดยเฉพาะผลประโยชน์ของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นต้องเสียหาย ซึ่งผลประโยชน์ที่สูญเสียไปนี้ อาจเป็นผลประโยชน์ทางการเงิน คุณภาพในการบริการ ความเป็นธรรมในสังคม  ตลอดจนคุณค่าอื่นๆที่ดีงาม รวมถึงโอกาสในอนาคตของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นส่วนรวมอีกด้วย การแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แก่ การใช้มาตรการทางกฎหมาย โดยการกำหนดหลักการไว้ในรัฐธรรมนูญ และมาตรการไว้ในพระราชบัญญัติต่างๆ และกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ในการตรวจสอบของพลเมืองและองค์กรภาคประชาสังคม ส่วนแนวทางระยะยาวควรให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาทางการเมืองและกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองแก่บรรดาผู้บริหารท้องถิ่น  เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนอีกด้วย

Article Details

Section
บทความทางวิชาการ (Academic article)