แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการนำเทคโนโลยีกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) มาใช้ในการสนับสนุนการบริหารงานของสถานีตำรวจของกองบัญชาการตำรวจนครบาล

Main Article Content

กิตติ์ธนทัต เลอวงศ์รัตน์

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการผสมผสาน (Merge) และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดกล้องที่แต่ละสถานีตำรวจในกรุงเทพมหานครต่างก็มีการติดตั้งกันอยู่แล้วกับโครงการ Miracle Eyes ของกองบัญชาการตำรวจนครบาลที่จะเกิดขึ้นใหม่เพื่อจะนำผลการศึกษาไปทำให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 316 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Yamane ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ เจ้าหน้าที่สถานีตำรวจในกรุงเทพมหานครจำนวน 15 สถานี จากจำนวนทั้งสิ้น 88 สถานีและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการนวัตกรรม      การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของกองบัญชาการตำรวจนครบาลโครงการ Miracle eyes  คณะวิจัยทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลและการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (ปลายเปิด) เป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่าแนวทางที่เหมาะสมในการผสมผสาน (Merge) พัฒนาการใช้เทคโนโลยีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดกล้องที่และสถานีตำรวจในกรุงเทพฯต่างก็มีการติดตั้งกันอยู่แล้วกับโครงการ Miracle Eyes ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่จะเกิดขึ้นใหม่เพื่อจะนำผลการศึกษาไปทำให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม

Article Details

Section
-