การศึกษาวิเคราะห์วรรณศิลป์ในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งของหนูมิเตอร์

Main Article Content

สุนทรี ดวงทิพย์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาของเพลงลูกทุ่ง วรรณกรรมเพลงลูกทุ่งและวิเคราะห์วรรณศิลป์ในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งของหนู มิเตอร์ โดยศึกษาจากผลงานเพลงอัลบั้มชุดนิราศป่าปูนและอัลบั้มลูกทุ่ง มิเตอร์ ชุดที่ 1-5  รวม 24 เพลง ผลการศึกษาวิเคราะห์ปรากฏดังนี้         วรรณกรรมเพลงลูกทุ่งมีเนื้อหาสาระสะท้อนวิถีชีวิตและเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคม โดยนำเสนอเนื้อเพลงด้วยภาษาที่เรียบง่าย ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงสามารถเลือกใช้คำได้เหมาะสมกับอารมณ์เพลง จึงทำให้ผู้ฟังหรือผู้รับสารเข้าใจความหมายได้ตรงกับที่ผู้ประพันธ์เพลงต้องการ ซึ่งความงามด้านวรรณศิลป์เป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ช่วยส่งเสริมให้วรรณกรรมเพลงลูกทุ่งของหนู มิเตอร์มีคุณค่าน่าสนใจ  โดยเฉพาะความโดดเด่นด้านวรรณศิลป์ อันได้แก่การใช้ภาพพจน์ในเพลงลูกทุ่ง ประกอบด้วย ภาพพจน์เปรียบเทียบ (อุปมา อุปลักษณ์) ภาพพจน์สิ่งแทน (สัญลักษณ์ นามนัย) ภาพพจน์สมมติ (บุคลาธิษฐาน สมมุติภาวะ)  ภาพพจน์ขัดแย้ง (ปฏิปุจฉา ปฏิพากย์) ภาพพจน์เกินจริง (อติพจน์) และด้านการใช้ภาษาในเพลงลูกทุ่ง ประกอบด้วย การเล่นคำ การซ้ำคำ  และการซ้ำเสียง

Article Details

Section
-