การออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความต้องการการออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุ 2. เพื่อพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศสำหรับผู้สูงอายุ 3. เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศสำหรับผู้สูงอายุ และ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุ
มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการการออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่
การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรม การออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุ มีการศึกษา ค้นคว้าและพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุ และดำเนินการทดลองโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุกับกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิง จำนวน 17 คน โดยการนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ ก่อนและหลัง ใช้สถิติ Paired samples t-test และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจต่อโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยกับผู้สูงอายุ จำนวน 17 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการศึกษาความต้องการการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมลีลาศของผู้สูงอายุ
ในภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การฝึกท่าเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ รองลงมาคือ การออกกำลังกายด้วยการเต้นรำ เป็นกิจกรรมที่ไม่หนักเกินไป และการเต้นรำด้วยจังหวะดนตรีช้าๆ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การเต้นรำด้วยจังหวะดนตรีเร็วๆ 2) พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารเรื่องการออกกำลังกายจากสื่อโทรทัศน์ รองลงมาคือ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ ส่วนใหญ่ออกกำลังกายด้วยการเต้นรำ รองลงมาคือ วิ่งเหยาะๆ และแอโรบิก ส่วนใหญ่ออกกำลังร่วมกับครอบครัว รองลงมาคือ เพื่อนและคนเดียว ส่วนใหญ่ออกกำลังกายช่วงเวลาเย็น และมีคนที่ออกกำลังกายด้วย 2-5 คน และส่วนใหญ่ชอบดนตรีและคุ้นเคยกับเพลงลูกทุ่ง รองลงมาคือ รำวง และเพลงไทยสากล 3) ผลการศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุ โดยจากผลการทดสอบสมมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ จำนวน 17 คน โดยนำผู้สูงอายุมาทดลองสมรรถภาพทางกาย จำนวน 8 รายการ พบว่า ผลการทดสอบ จำนวน 7 รายการ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีเพียงรายการเดียวที่ไม่เปลี่ยนแปลง คือ การทดสอบรายการที่ 1 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว จับชีพจรปกติ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรม การออกกำลังกายด้วยลีลาศส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านจิตใจ รองลงมาคือ ด้านทัศนคติ และด้านร่างกายและด้านสังคมArticle Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย