การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรชุมชนต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จำแนกตามสถานภาพของบุคลากรชุมชน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรชุมชน ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จำแนกตามสถานภาพของบุคลากรชุมชน 3. เพื่อศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร 4. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร 5. เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มบุคลากรโรงเรียน (ผู้บริหารสถานศึกษาพนักงานครูเทศบาล) กลุ่มบุคลากรเทศบาล (นายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล เทศมนตรีสมาชิกสภาเทศบาล ปลัดเทศบาลและพนักงานเทศบาล) กลุ่มกรรมการชุมชน จำนวน 27 ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 160 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของบุคลากรโรงเรียน บุคลากรเทศบาล และกรรมการชุมชน ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ใน 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านค่านิยม (2) ด้านความต้องการของชุมชนด้านการศึกษา (3) ด้านการวางแผน (4) ด้านการดำเนินงาน (5) ด้านการรับประโยชน์ พบว่า ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ไม่แตกต่างกัน เช่นกัน 2) ความคิดเห็นของบุคลากรชุมชนต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 289 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 58 ใน 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น (2) ด้านระบบบริหารและสนับสนุนทางการศึกษา (3) ด้านหลักสูตร (4) ด้านกระบวนการเรียนรู้ (5) ด้านทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา (6) ด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่า ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ไม่แตกต่างกันในทุกประเด็น เช่นกัน 3. ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร มีดังนี้ (1) ด้านการรับทราบและตัดสินใจในเรื่องที่จะทำและวิธีการทำ พบว่า มีปัญหา คือ ขาดการประสานงาน ความพร้อมของชุมชน ขาดความต่อเนื่อง ไม่มีเวลาร่วมกิจกรรมการวางแผน ขาดความตระหนัก ความต้องการของชุมชน ขาดภาวะผู้นำ ไม่ได้คิดกิจกรรมด้วยตนเอง การบีบบังคับ(2) ด้านการดำเนินงาน พบว่า มีปัญหา คือ ขาดความร่วมมือขาดการประสานงาน ไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ขาดสิ่งจูงใจ เข้าร่วมกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง ไม่ต้องตามความต้องการ ไม่เหมาะสมตรงตามวิถีชีวิต (3) ด้านการรับประโยชน์ตามความจำเป็นขั้นพื้นฐานพบว่ามีปัญหา คือ ขาดการแนะนำและสร้างความเข้าใจ ไม่เข้าใจถึงเป้าหมายที่แท้จริงในการจัดการศึกษา ไม่เข้าถึงสิทธิในการรับประโยชน์ คิดว่าไม่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ประชาชนได้รับประโยชน์ในการมีส่วนร่วมน้อยมาก 4. แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ระดมความคิดเห็น ของบุคลากรโรงเรียน บุคลากรเทศบาล กรรมการชุมชนและภาคประชาชน สรุปสาระสำคัญได้ 32 ประเด็น มีประเด็นที่สำคัญ คือ ประเด็นที่ 11) โรงเรียนจะต้องเปิดโอกาสให้ชุมชนและเทศบาลมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาทุกขั้นตอน ประเด็นที่ 16) โรงเรียน เทศบาลและชุมชน ร่วมมือกันอย่างเต็มกำลังจะทำให้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามีคุณภาพ ประเด็นที่ 18) โรงเรียน เทศบาลและชุมชนมีส่วนร่วมการรับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ประเด็นที่ 19) เทศบาล โรงเรียนและชุมชน ร่วมกันรื้อฟื้นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย เช่น การทักทายด้วยการไหว้ เป็นต้น ประเด็นที่ 26) ยึดถือหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ควบคู่กับหลักสูตรความรู้ของท้องถิ่น 5. ผลการปฏิบัติการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จากการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Work Shop) ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร พบว่า (1) มีการร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมของโรงเรียน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ของหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) มีการกำหนดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) มีการกำหนดโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาโดยกำหนดสัดส่วนเวลาเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกชั้นปีตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (4) มีการจัดทำคำอธิบายรายวิชาของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม (5) มีการกำหนดโครงสร้างรายวิชาและมีการจัดทำหน่วยการเรียนรู้และเวลาเรียน ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม
Article Details
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย