อิทธิพลของพระร่วงต่อสังคมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยรัตนโกสินทร์
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลที่พระร่วงมีต่อสังคมไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยรัตนโกสินทร์ด้วยวิธีการสังเคราะห์เอกสาร ทั้งที่เป็นวรรณกรรมเรื่องพระร่วง วิทยานิพนธ์และเอกสารการศึกษาค้นคว้าอิสระ ตลอดจนผลงานการเขียนและบทความวิชาการเกี่ยวกับพระร่วง ผลการวิจัยแยกกล่าวสรุปได้เป็น 2 ประการ ประการที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพระร่วง และประการที่ 2 เป็นอิทธิพลที่พระร่วงมีต่อสังคมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในเรื่องข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพระร่วงพบว่า ที่มาและความหมายของ “พระร่วง” มีหลายกระแสความคิด ส่วนข้อมูลพื้นฐานว่าพระร่วงคือผู้ใดพบว่ามี 3 กระแส กล่าวคือ พระร่วงเป็นเชื้อสายกษัตริย์ พระร่วงเป็นเจ้าแห่งไทย และพระร่วงเป็นสามัญชน ในประการที่ 2 พบว่า พระร่วงมีอิทธิพลต่อสังคมไทย 6 ประเด็น กล่าวคือ 1. การจุดประกายภาพลักษณ์ผู้นำในอุดมคติของการปกครองแผ่นดินโดยธรรม 2. การที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ความสามารถทางสติปัญญาและความเป็นผู้นำในศูนย์กลางของอำนาจรัฐ 3. การที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้รูปแบบเรื่องพระร่วงในเชิงสัญลักษณ์ในบทละครปลุกใจ การตั้งชื่อพระพุทธรูป และการตั้งชื่อเรือรบ 4. สัญลักษณ์ของพลังความสามัคคี หยิ่งในศักดิ์ศรีของชาติและความภาคภูมิใจในความ เป็นไทย 5. อิทธิพลที่ปรากฏเป็นชื่อของสถานที่ พืช สัตว์ กีฬาพื้นบ้านอันเป็นประเพณีแต่โบราณ และ 6. ความเชื่อเรื่องวาจาสิทธิ์ของผู้มีบุญ
Article Details
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย