ซีโหยวจี้ – ไซอิ๋ว : วิเคราะห์กลวิธีการแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรม

Main Article Content

CHEN JIE CHEN JIE

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวรรณกรรมจีน  โดยการเปรียบเทียบวรรณกรรมจีนเรื่อง ซีโหยวจี้ กับฉบับที่มีผู้แปลเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า ไซอิ๋ว ในด้านกลวิธีการแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรม และวิเคราะห์ประเภทคำศัพท์ดังกล่าว  ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยและประเทศจีนมีการไปมาหาสู่กันตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ชาวไทยและชาวจีนจึงมีการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมมาช้านาน ชาวไทยสนใจที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมจีน เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดการแปลวรรณกรรมจีนขึ้น ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 6 การแปลยังไม่มีกฎเกณฑ์แบบแผนตายตัว และผู้สันทัดด้านภาษา ทำให้งานวิจัยฉบับนี้พบรูปแบบกลวิธีการแปลมากถึง 7 ลักษณะ และไม่มีระบบการแปลที่เป็นระเบียบ ได้แก่ 1. การใช้คำจำแนกประเภทอย่างกว้างๆ (Generic words) 2. การแปลตรงตัวตามคำศัพท์ภาษาเดิม (Literal Translation) 3. การใช้การแทนที่ด้วยสิ่งที่ปรากฏในวัฒนธรรมของภาษาแปล เป็นการขยายความโดยวัฒนธรรมปลายทาง (A Cultural Substitute) 4. การใช้คำยืมที่เป็นคำทับศัพท์         (A Loan Word) 5.การแปลโดยใช้คำทับศัพท์และเพิ่มคำอธิบายภาษาไทย (A Loan Word with Descriptive Phrase) 6. คำแปลที่ไม่ตรงตามต้นฉบับภาษาจีนและใช้คำที่ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมในภาษาไทย 7. คำแปลมีความหมายใกล้เคียงกับต้นฉบับภาษาจีน คำศัพท์ทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในต้นฉบับดังกล่าวยังสามารถแบ่งประเภทเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ วัฒนธรรมทางนิเวศวิทยา วัฒนธรรมทางวัตถุ วัฒนธรรมทางสังคม วัฒนธรรมทางศาสนา และวัฒนธรรมทางภาษา เพราะฉะนั้นรูปแบบของการแปลจึงมีทั้งแปลเหมือน แปลคล้าย แปลต่างและการใช้ทับศัพท์ รูปแบบการแปลที่ผู้แปลใช้มากที่สุดคือการใช้ทับศัพท์ ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ว่าระหว่างจีนกับไทยมีภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ผู้แปลต้องการให้การดำเนินเรื่องได้ราบรื่น

Article Details

Section
-