ตัวชี้วัดการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพเชิงนิเวศเกษตรและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ตามแนวคิดการทำเกษตรประณีตของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาตัวชี้วัดการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพเชิงนิเวศเกษตรและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามแนวคิดการทำเกษตรประณีตของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 เครือข่าย ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากเอกสารและการศึกษาภาคสนามด้วยการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และประชุมเชิงปฏิบัติการ ระยะเวลารวม 12 เดือน ผลการวิจัยมีดังนี้ ตัวชี้วัดการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพเชิงนิเวศเกษตรมี 7 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ปลูกพืชหัว-ผักสวนครัว-ไม้เลื้อย-ไม้ผล-ไม้ยืนต้น ทำปุ๋ยชีวภาพ สร้างดิน-น้ำ-พืช-สัตว์ให้อุดมสมบูรณ์ ไม่ใช้สารเคมี สร้างความมั่นคงด้านอาหาร วางแผนบริหารจัดการ และสร้างอากาศบริสุทธิ์ ตัวชี้วัดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนมี 10 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย มีไม้ยืนต้นหลายชนิด ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ อาหารปลอดภัย ดินดี ใช้ปุ๋ยชีวภาพ มีอาหารตามธรรมชาติ จิตสำนึกดี มีกิน-ขาย-แลกเปลี่ยน มีสมุนไพร-พืชผสมผสาน และมีรายได้
Article Details
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย