การจัดการความรู้ของเกษตรกรที่ทำการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ตำบลหินดาต อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการความรู้ของเกษตรกรในการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และเพื่อถอดบทเรียนรู้การปลูกหม่อน เลี้ยงไหมได้ 21 รุ่นต่อปี ประชากร คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตำบลหินดาต อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 10 ราย รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การจัดการความรู้ มี 4 ขั้นตอน 1) การสร้างความรู้ ความรู้เรื่องการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ได้ 21 รุ่นต่อปี มีการสร้างความรู้โดยการถ่ายทอดความรู้จากผู้เลี้ยงไหมได้ 21 รุ่นต่อปี ไปสู่เกษตรกร รายอื่นๆ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มผู้เลี้ยงไหม และการแบ่งปันความรู้ให้กับเกษตรกร รายอื่นๆ ซึ่งการเลี้ยงไหมให้ได้ 21 รุ่นต่อปี เป็นการเลี้ยงไหมไล่รุ่น หรือการเลี้ยงไหมให้ได้เดือนละ 2 รุ่น มีปัจจัยสำคัญคือ การจัดสวนหม่อนให้มีเพียงพอต่อการเลี้ยงไหมไล่รุ่นได้ โดยมีการแบ่งสวนหม่อนออกเป็น 4 แปลง เพื่อให้มีใบหม่อนหมุนเวียนเลี้ยงไหมได้ตลอดทั้งปี และต้องมีการวางแผนในการเตรียมฟักตัวอ่อนให้ทันที่จะเลี้ยงไหมรุ่นต่อไป 2) การเก็บรวบรวมความรู้ ความรู้ที่จัดเก็บคือ วิธีการปลูกหม่อน และการเลี้ยงไหมให้ได้ 21 รุ่นต่อปี จากผู้เลี้ยงไหมได้ 21 รุ่นต่อปี โดยจัดทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก 3) การกระจายความรู้ โดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เลี้ยงไหมรายอื่นในหมู่บ้านและการไปเป็นวิทยากรให้กับกลุ่มเกษตรกรรายอื่นๆ 4) การนำความรู้ไปใช้ ผู้ปลูกหม่อน เลี้ยงไหมรายอื่นๆ ในหมู่บ้านนำความรู้ที่ได้รับมาแล้วนำไปปฏิบัติจนสามารถปลูกหม่อนเลี้ยงไหมได้ 21 รุ่นต่อปี
Article Details
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย