การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษา และพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ทั่วประเทศ จำนวน 840 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 218 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 เก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคบุ๊คเลทเมทริกซ์ (Booklet Matrix Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความเชื่อมั่น และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรมลิสเรล Version 9.10 activation code : 6EC5-311D-BBB9-57CD ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ผลการตรวจสอบรูปแบบเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.16, S.D. = 0.58) และผลการประเมินผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน ไม่แตกต่างกัน การวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1. องค์ประกอบความมีวินัย มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ วินัยในหน้าที่ วินัยในตนเอง วินัยต่อส่วนรวม วินัยของคฤหัสถ์และสามเณร และวินัยของสามเณร โดยมีความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง ดังนี้ ค่า c2= 453.28, ค่า df = 206, ค่า p-value = 0.00000, ค่า RMSEA = 0.038, ค่า GFI = 0.95, ค่า AGFI = 0.93, ค่า CFI = 0.98, RMR =0.52, และ CN = ค่า 475.10
Article Details
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย