รูปแบบการอภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรน้ำ : ศึกษากรณีพื้นที่ภูมิภาคลุ่มน้ำยม

Main Article Content

ภัทร ชมภูมิ่ง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบอภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรน้ำ  ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่ภูมิภาคลุ่มน้ำยม และข้อเสนอแนวทางเชิงนโยบายรูปแบบอภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่ภูมิภาคลุ่มน้ำยม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ชาวบ้าน บุคลากรภาครัฐที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการน้ำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ภูมิภาคลุ่มน้ำยมในเขตภาคเหนือและภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่  จังหวัดพะเยา แพร่ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย และนครสวรรค์  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview)  การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)  และการสังเกตการณ์แบบเป็นระบบวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ข้อเสนอแนวทางเชิงนโยบายรูปแบบอภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่ภูมิภาคลุ่มน้ำยม ได้แก่ 1) จัดตั้งองค์การกำกับดูแลทรัพยากรน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำยม 2) ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำยม ได้แก่ ความพร้อมของกลุ่มเครือข่าย การยอมรับของชุมชน ศักยภาพผู้นำชุมชนการใช้ข้อมูลและแผนที่เป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรน้ำ และการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจทั้งภายในและภายนอกชุมชน

Article Details

Section
-