ประสิทธิผลการนำสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

ฟิรนันท์ จารง

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการนำสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้การวิจัยแบบผสม ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 54 คน ได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานศูนย์สร้างสันติสุขระดับจังหวัด 2 คน ผู้นำทางศาสนา 10 คน ผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชน 20 คน ประชาชน 20 คน และนักวิชาการอิสระ2 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปมานและการตีความ และการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ข้าราชการตำรวจสังกัดสถานีตำรวจภูธรเมือง ข้าราชการทหาร และประชาชน จำนวน 399 คน ในจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิผลการนำสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของนโยบายการนำสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในรอบปีงบประมาณ 2556 มีการเร่งนำสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผลเป็นรูปธรรมในระดับหนึ่ง ซึ่งโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 2.97) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความยากจนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̅ = 3.01) รองลงมาคือด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน      (x̅ = 2.99) ส่วนด้านยาเสพติดมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (x̅ = 2.90) โดยด้านความยากจนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเนื่องจากประชาชนได้รับการส่งเสริมให้มีรายได้ มีการสร้างงานมากขึ้น และด้านยาเสพติดมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดเนื่องจากการประชาสัมพันธ์โทษภัยของยาเสพติดยังน้อยอยู่ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการนำสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการเร่งสร้างสันติสุขกลับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ตามตัวแปรปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลเป็นรูปธรรมมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ซึ่งโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅= 3.24) ได้แก่ การส่งเสริมการศึกษา ภาษา ศาสนา (x̅ = 3.69) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน (x̅ = 3.26) การพัฒนาด้วยการมีส่วนร่วม (x̅ = 3.24) การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ (x̅ = 2.84) และปัจจัยภายนอกประเทศ         (x̅ = 2.63) สามารถวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์แนวโน้มประสิทธิผลการนำสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 84.20 (R² = 0.842) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

Section
-