แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ นำร่องการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ และหาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษา ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการนำร่องการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษา ประชากรที่ศึกษาได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 4 คน ครูผู้สอนจำนวน 77 คน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษาโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่มีความพร้อมในการใช้หลักสูตรเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่และร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษาในทุกด้านทั้งด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การส่งเสริม สนับสนุนระดับสถานศึกษา และด้านการกำกับดูแลคุณภาพระดับสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก 2. ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย 3. ความต้องการการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4. แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษา พบว่า คุณภาพของแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรทั้งด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อตัดสินโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ทุกข้อ โดยแนวทางพัฒนาที่สำคัญได้แก่ 1) จัดประชุมผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคเรียน 2) ระดมทุนจากชุมชน เครือข่าย องค์กรเอกชน ในการจัดพัฒนาด้านอาคารสถานที่ และ 3) ศึกษาดูงานด้านการวิจัยประเมินผลการใช้หลักสูตรจากโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตร
Article Details
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย