การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ด้านการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

สมบูรณ์ ตันยะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ด้านการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครราชสีมา การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ด้านการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2   การจัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ด้านการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายการเรียนรู้ด้านการสอน ตามแนวปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. กลยุทธ์ในการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ด้านการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยมาตรการในการพัฒนา 4 ข้อ คือ 1) ดำเนินการเสริมพลังอำนาจให้แก่ครูที่มีองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการสอน 2) จัดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดนวัตกรรมการสอน 3) ส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมการสอนพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนและ 4) เผยแพร่นวัตกรรมการสอนและผลการใช้นวัตกรรมการสอนในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน 2. เครือข่ายการเรียนรู้ด้านการสอน ตามแนวปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยครูแกนนำ 30 คน ครูเครือข่าย 29 คน นวัตกรรมการสอนที่นำมาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  มีจำนวน 13 นวัตกรรม

Article Details

Section
-