วาทกรรมนโยบายประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา

Main Article Content

เสริมศักดิ์ กิตติปาลวรรธก์

Abstract

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1. กระบวนการผลิตสร้างวาทกรรมนโยบายประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 2. การใช้วาทกรรมโดยใช้ อำนาจและความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะในฐานะเป็นเครื่องมือในการบริหารนโยบายประกันคุณภาพการศึกษา 3. อิทธิพลของวาทกรรมนโยบายประกันคุณภาพการศึกษาที่ส่งผลต่อสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการสังเกต ผลจากการศึกษาพบว่า (1) นโยบายประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ดำเนินการโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานะและการประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการสร้างปัญหาเชิงวาทกรรม (2) ในการบริหารนโยบายดังกล่าว ดำเนินการผ่านการใช้อำนาจ ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของผู้ที่อยู่ในแวดวงของการศึกษา ซึ่งผลของการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอำนาจ ความรู้และ          ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการสร้างความชอบธรรมทำให้วาทกรรมการประกันคุณภาพการศึกษากลายเป็นความจริงของสังคมที่ไม่อาจปฏิเสธได้ โดยผ่านเครื่องมือที่เป็นกฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ (3) ในแง่ของคุณภาพการศึกษา พบว่าอิทธิพลของวาทกรรมนโยบายประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา พบว่านโยบายประกันคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการอยู่ไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาในทางบวกอย่างแท้จริง ในทางตรงกันข้ามงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาดังกล่าวเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับอาจารย์ผู้รับผิดชอบ อีกทั้งนักศึกษาก็ไม่ได้มีคุณภาพตามเจตนารมณ์ของการประกันคุณภาพการศึกษาแต่อย่างใดภายใต้การวิจัยนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แม้การประกันคุณภาพจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เพื่อลดภาระของอาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ สมศ. ควรมีระบบฐานข้อมูลที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติ หรือฐานข้อมูลร่วมกันของหน่วยงานผู้ประเมินสถานศึกษา วิธีนี้จะเป็นการลดการทำงานซ้ำซ้อนได้ อีกทั้งควรมีการจำแนกประเภทและขนาดของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการประกันคุณภาพให้สอดคล้องกับประเภทและขนาดของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะสามารถ                ลดแรงเสียดทานหรือแรงต่อต้านจากผู้รับการประเมินได้เป็นอย่างดี

Article Details

Section
-