การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป และเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีพื้นฐานความรู้เท่ากัน

Main Article Content

ณัฐพงศ์ บุญเหลือ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75-     2..เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคอมพิวเตอร์  เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูปและเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีพื้นฐานความรู้เท่ากัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปราสาทวิทยาคม อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 2หห้องเรียน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนสำเร็จรูปและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  แบบทดสอบความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ มีค่าความเที่ยง 0.82 แบบทดสอบความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ มีค่าความเที่ยง 0.89 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าความเที่ยง 0.89  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมาน ได้แก่ Independent t-test, Paired t-testและ One-Way ANCOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนสำเร็จรูปชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ดรายวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่องดเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 77.33/83.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.83/82.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ด3ดรายวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

Article Details

Section
-