การศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำแนกตามวิชาเอกและเพศโดยทำการศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ใน 7 ด้าน คือ 1) การออกแบบการเรียนรู้ 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ผู้เรียนยุคใหม่ 4) การพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งการเรียนรู้ยุคใหม่ 5) การพัฒนาและใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 6) การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ และ7) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 5 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2557 จำนวน 160 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแนวคิดของลิเคิร์ท (Likert) ที่ประยุกต์มาจากงานวิจัยของจุฑาพิชญ์ ธรรมศิลป์ (2557) ที่ได้ทำวิจัยเรื่องการพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 การวิเคราะห์องค์ประกอบแบบยืนยันพบว่าน้ำหนักองค์ประกอบของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 7 องค์ประกอบ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.93-0.98 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกองค์ประกอบ และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้ ทั้ง 24 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.53-0.66 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัวบ่งชี้ โดยผู้วิจัยนำมาหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้ค่า เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบอิสระ (t-test independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่านิสิตมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในด้านการออกแบบการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ผู้เรียนยุคใหม่ ด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งการเรียนรู้ยุคใหม่ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาด้านการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยทุกสมรรถนะมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณานิสิตที่มีเพศต่างกัน พบว่ามีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไม่แตกต่างกัน ส่วนนิสิตที่เรียนสาขาวิชาเอกต่างกันมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไม่แตกต่างกัน
The Study of the Competencies of Learning Management for 21st Century of Bachelor Degree Students, Naresuan University
ABSTRACT
The research aims to study the learning management competency for 21st Century of student teachers at Faculty of Education, Naresuan University which categorized by major and gender. The seven competencies were studied; 1) competency in learning design 2) competency in Child-Center learning activity organization 3) competency in learning skills development of new generation learners 4) competency in development of environment and new generation learning sources 5) competency in development of using media,innovation and educational technology 6) competency in learning network development and 7) competency in learning evaluation andassessment. Thesample of this study comprised of 160 5th year student teachers of Faculty of Education, Naresuan University. The Likert scale questionnaire adapted from Juthapit Thammasin (2014); who studied the development of indicators of learning management competencies for teachers in the 21st Century; was used as the instrument for data collection. Confirmatory Factor Analysis (CFA) was used for analyzing the seven competencies. The results of CFA found that the factor loadings ranged between 0.93 - 0.98 and revealed of significance at .05. Moreover, the factor loadings of 24 indicators ranged between 0.53 – 0.66 and revealed of significance at .05. Reliability test indicated that the questionnaire was reliable: Cronbach's alpha 0.94.The data was analyzed by Median, Standard Deviation, t-test independent and one – way ANOVA. The results found that the students’ competency revealed at high level in all seven competencies; competency in learning design, competency in Child-Center learning activity organization, competency in learning skills development of new generation learners, competency in development of environment and new generation learning sources, competency in development of using media, innovation and educational technology, competency in learning network development,and competency in learning evaluation and assessment. Student teachers who had difference in major, had no difference in learning management competency for 21st Century. Moreover, student teachers who had difference in gender, had no difference in learning management competency for 21st Century.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย