รูปแบบการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการสอนแนะและพี่เลี้ยง

Main Article Content

วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการสอนแนะและพี่เลี้ยง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1. กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2. พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการสอนแนะและพี่เลี้ยง 3. ประเมินรูปแบบการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการสอนแนะและพี่เลี้ยง 4. การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการสอนแนะและพี่เลี้ยง และ 5. การสรุปและรายผลการวิจัย  ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานที่ร่วมโครงการพัฒนาครูทั้งระบบ ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และเขต 2  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 และเขต 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 และเขต 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ    เขต 1 และเขต 2 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการสอนแนะและพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แนวคิดหลัก หลักการ สมรรถนะของผู้บริหาร เป้าหมายการพัฒนา ส่วนที่ 2 กระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการสอนแนะและพี่เลี้ยง ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ และจากการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด

In-School supervision Model of School Principals Using Coaching and Mentoring Processes


ABSTRACT

This research aimed to propose In-school supervision model of School principals using Coaching and Mentoring processes.  Five stages of methodology were: 1. formulating a research framework; 2. developing the model; 3. evaluating the model; 4. implementing the model; and 5. concluding and reporting the results.  The population consisted of principals of schools under the Basic Education Commission, all of whom were involved in the Inclusive Teacher Development Project.  They were under the Educational Service Areas 1 and 2 Offices from Provinces of Pathum Thani, Nonthaburi, Saraburi, Smut Prakan; and Sing Buri Educational Service Area Office; plus experts on in-school supervision. The data were collected using literature reviews, interviews, and focus group discussion. They were then analyzed in terms of data analyses. The proposed  In-school supervision model of school principals using coaching and mentoring processes comprised of three parts: 1) basic concepts;  principles, principal competencies, and development goals; 2) school-based supervision using coaching and mentoring processes; and 3) conditions of success, and the proposed model was the at most appropriate and feasible.

Article Details

Section
-