การสร้างระบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้มีความสามารถในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสู่การจัดสวัสดิการสังคมในประชาคมอาเซียน

Main Article Content

อิสสราพร อ่อนบุญ

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการสร้างระบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้มีความสามารถในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสู่การจัดสวัสดิการสังคมในประชาคมอาเซียน และเพื่อสร้างคู่มือระบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้มีความสามารถในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสู่การจัดสวัสดิการสังคมในประชาคมอาเซียน โดยกลุ่มตัวอย่างในการใช้แบบสอบถาม คือ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่ติดเตียงและเข้าร่วมกิจกรรมกับเทศบาลลานกระบือ จำนวน 193 คน และกลุ่มที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ หน่วยงานท้องถิ่นและผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่ยินดีให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 61-70 ปี จบประถมศึกษา 4 หรือ 6 อาศัยอยู่ตามลำพังคนเดียวมีรายได้ครอบครัว 3,001-5,000 บาท ซึ่งมีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย และเห็นคุณค่าในตัวเองอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ มีความสุขในการอยู่กับผู้อื่น รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเท่าเทียมกับผู้อื่น และได้วางแผนชีวิตไว้ในบั้นปลาย ดังนั้น จึงนำไปสู่การสร้างระบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้มีความสามารถในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมดังนี้ (1) ด้านการสร้างระบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ผู้สูงอายุเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนในการแสดงความคิดเห็น ร่วมคิด ตัดสินใจ วางแผน และร่วมบริหารชุมชนในด้านต่างๆ ส่วนกลุ่มผู้นำท้องถิ่น ได้เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมคิด ตัดสินใจ วางแผน และทำกิจกรรมที่มีผู้สูงอายุเกี่ยวข้องทุกโครงการ (2) ด้านการจัดสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุมีความต้องการสวัสดิการในด้านการรักษาฟรี มีบัตรทอง ส่วนกลุ่มผู้นำท้องถิ่นมีการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ เช่น จัดหาอาชีพ หาตลาดขายสินค้า จัดคลินิกตรวจสุขภาพ จัดยารักษาโรคตามอาการของแต่ละคน (3) ด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ผู้สูงอายุได้รับข้อมูลข่าวสารจากหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน และเข้าร่วมเป็นกรรมการของชมรมต่างๆในชุมชน รวมทั้งมีการเสริมทักษะด้านอาชีพ และด้านภาษา ส่วนกลุ่มผู้นำท้องถิ่นมีการให้ข้อมูลผ่านทางอาสาสมัครหมู่บ้าน และมีการส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพ ทักษะภาษา เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ(4) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสู่ประชาคมอาเซียนผู้สูงอายุได้รับการสอนภาษา การฝึกอาชีพเพื่อใช้เป็นอาชีพเสริมหรือใช้ทำเป็นกิจกรรมยามว่าง และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตทางอารมณ์ให้ดีขึ้น ส่วนกลุ่มผู้นำท้องถิ่นมีการเสริมทักษะความรู้เกี่ยวกับอาเซียน โดยจัดหาวิทยากรมาอบรม รวมทั้งสอนวิธีดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ

Construcing the System of Community Development to Participation Capacity Management for Quality and Social Welfare of the Elderly in the ASEAN

Community

ABSTRACT

The purposes of this mixed method research were to (1) study the creating local development systems and (2) create the local development systems manual for participative management in life quality development of older persons to social welfare management in ASEAN community. The samples were 193 older persons who are more than 60 years old, local agencies and care takers, and older persons who were able to personal information. The data were statistically analyzed by using percentage, mean, and used content analysis in qualitative analysis.The results found thatmost of older persons were female and age between 61-70 years. The level of education was grade 4 or 6, lived alone, and the family income between 3,001-5,000 baht which had enough income. The self-esteem on happy living with other, self-esteem equal with other, and planning the end of life were at moderate level. The creating the local development systems for participative management were: (1) the creating the local development systemsfound that older persons were participate with the community to give an opinion, share idea, make a decision, and manage community. The local leaders were given an opportunity to share idea, make a decision, plan and participate to make activities with older persons, (2) social welfare management found that older persons wanted to free treatment and have universal health coverage. The local leaders had managed social welfare as providing a professional, a market, a healthcare clinic, and a medicine, (3)participative management found that older persons got information from  broadcasting tower and participated as a member of the community, including the professional and language skill. The local leaders gave information through village volunteer and had promoted the professional, language skill to participate management, (4) life quality development to ASEAN community found that older persons got language teaching, professional as a second source of income, and creating relationships with other older persons as a good quality of life. The local leaders had taught ASEAN skills and primary health care for older persons.

Article Details

Section
-