การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายผู้สอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อสังเคราะห์สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของพนักงานมหาวิทยาลัยสายผู้สอน 2. เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของพนักงานมหาวิทยาลัยสายผู้สอน 3. เพื่อศึกษาผลของการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของพนักงานมหาวิทยาลัยสายผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานจำนวน 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน พนักงานมหาวิทยาลัยสายผู้สอนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองหลักสูตร ได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัยสายผู้สอนวิทยาเขตสกลนคร ปีการศึกษา 2557 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 8 ชนิดได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) หลักสูตรฝึกอบรม 4) แบบทดสอบ 5) แบบประเมินตนเอง 6) แบบตรวจชิ้นงาน 7) แบบสังเกตพฤติกรรม 8) แบบสัมภาษณ์เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของพนักงานมหาวิทยาลัยสายผู้สอน มี 11 สมรรถนะ 2) หลักสูตรฝึกอบรม มีองค์ประกอบ 7 ประการ 3) ผลของการใช้หลักสูตรฝึกอบรม มีดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก (x= 3.85, S.D.=0.12)
Development of a Training Curriculum for Encouraging the Instructional Management Competency of University Teaching Staff, Rajamangala University of Technology Isan
ABSTRACT
The purposes of this study were : 1. to synthesize the competencies of instructional management of university teaching staff. 2. to create and develop a training curriculum for encouraging the competencies of instructional management of university teaching staff and 3. to examine the results of implementing the training curriculum for encouraging the competencies of instructional management of university teaching staff. The findings can be concluded as follows. 1) Instructional management of the university teaching staff comprises 11 capacities. 2) The training curriculum for encouraging instructional management competencies of university teaching staff 7 important components. 3) The results of using the training curriculum for encouraging the instructional management competencies of university teaching staff were as follows : The result of a comparison between knowledge about instructional management competencies showed a significant difference at the .05 level after the training treatment than before the experiment. The result of assessing the overall instructional management competencies after the training was at high level. (x= 3.85, S.D.=0.12)
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย