ปัจจัยจำแนกการผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาโทมหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

ระพี ศรีไกรวัชร

Abstract

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยจำแนกการผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยนเรศวร 2. สร้างสมการจำแนกกลุ่มการผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ  นิสิตระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยนเรศวร  ปีการศึกษา 2555-2557 จำนวน 277 คน แบ่งเป็นนิสิตที่สอบผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ 89 คนและเป็นนิสิตที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ 188 คน  ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Selection) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการส่งแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) ด้วย Google Docs ทาง  E-mail และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ  แบบสอบถามประกอบด้วย 7 ปัจจัย  ได้แก่  เจตคติต่อภาษาอังกฤษ แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ กลวิธีในการเรียนภาษาอังกฤษ สาขาที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวนครั้งที่ใช้ในการสอบภาษาอังกฤษ  เวลาที่ใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษ  และค่าใช้จ่ายในการเรียนภาษาอังกฤษ  ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน  มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง  0.60-1.00 วิเคราะห์ปัจจัยสาขาวิชาที่เรียน จำนวนครั้งที่ใช้ในการสอบภาษาอังกฤษ เวลาที่ใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษ และค่าใช้จ่ายในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การวิเคราะห์ ไคสแควร์ (Chi-Square) และการวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant Analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise Method) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเจตคติต่อภาษาอังกฤษแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษและกลวิธีในการเรียนภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตมีระดับการรับรู้ด้านแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษในระดับมาก มีระดับการรับรู้ด้านเจตคติต่อภาษาอังกฤษและกลวิธีในการเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง นิสิตสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาภาษาอังกฤษ ร้อยละ 9 จบ สาขาอื่นๆร้อยละ 91.00 นิสิตมีจำนวนครั้งที่ใช้ในการสอบภาษาอังกฤษ 1-7 ครั้งร้อยละ 52 และนิสิตมีจำนวนครั้งที่ใช้ในการสอบภาษาอังกฤษมากกว่า 7 ครั้ง ร้อยละ 48 นิสิตใช้เวลาในการเรียนภาษาอังกฤษ 1-30 ชั่วโมง ร้อยละ 50.4 และนิสิตใช้เวลาในการเรียนภาษาอังกฤษมากกว่า 30 ชั่วโมง ร้อยละ 49.60 นิสิตเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนภาษาอังกฤษ 1-3500 บาท    ร้อยละ 55.90  และนิสิตเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนภาษาอังกฤษมากกว่า3500 บาท ร้อยละ 44.10 2) ปัจจัยที่สามารถจำแนกการผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยนเรศวรมีจำนวนทั้งหมด 3 ปัจจัย คือ สาขาวิชาที่เรียน เวลาที่ใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษ และเจตคติต่อภาษาอังกฤษโดยมีผลการวิจัยดังนี้ 

(2.1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาโท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ สาขาวิชาที่เรียนและเวลาที่ใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษ (2.2) ปัจจัยที่สามารถจำแนกการผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยนเรศวรคือ เจตคติต่อภาษาอังกฤษ ซึ่งเขียนเป็นสมการจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้

            สมการจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนดิบ

            Y = -6.853 + 2.004 X     

            สมการจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนมาตรฐาน

            ZY  = 1.000 X

            โดยสมการจำแนกประเภทการผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาโท  มหาวิทยาลัยนเรศวร  สามารถพยากรณ์จำแนกประเภทการผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษของนิสิตกลุ่มผ่านได้ถูกต้องร้อยละ 60.70  และสามารถจำแนกการผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษของนิสิตกลุ่มไม่ผ่านได้ถูกต้องร้อยละ 58 เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า สมการสามารถจำแนกประเภทได้ร้อยละ 59.30

Factors Discriminating English Proficiency Requirements of Graduate Students in Naresuan University

ABSTRACT

The objectives of this research were 1. to study the factors discriminating English proficiency requirements and 2. to formulate the discriminant functions of English proficiency requirements of graduate students in Naresuan University. The samples were 277 students selected by using a convenience selection by Google Docs viaE-mail. The research instrument was a questionnaire. The validity of instrument was verified by five experts, having Item Objective Congruence (IOC) ranging from 0.60-1.00. Chi-Square Analysis and Stepwise Discriminant Analysis Method were performed to analyze the data.The results showed that    1) The factors discriminating English proficiency requirements showed that the motivation in English language learning was at a high level but the attitudes toward English and the English language learning strategies were at a moderate level. Moreover, the graduate students graduated in English field in 9 percent and graduated in other fields in 91 percent. The frequency of English proficiency test was 1-7 times in 52 percent and more than 7 times in 48 percent. In addition, the time which graduate students spend to learn English more was 1-30 hours in 50.4 percent and more than 30 hours in 49.6. The expense of English learning was    1-3500 baht in55.9 percent and more than 3500 baht in 44.1 percent. 2) The three factors that can discriminate the English proficiency requirements were the attitudes toward English, the field of undergraduate level and the time of studying English. Theresults were as follows: (2.1)  Chi-Square method analysis pointed that factors that can discriminate the English proficiency requirements were the field of undergraduate level and the time of studying English. Those two factors were related to passing English statistical level at .05 (2.2) Stepwise Discriminant Analysis Method pointed that factors that can discriminate the English proficiency requirements were the attitudes toward English. Moreover the discriminant functions were written in raw score and standard score forms as follows:

                        Raw score          Y = -6.853 + 2.004 X

                        Standard score     ZY = 1.000 X

The statistics showed that the discriminant they functions can predict to pass and not to pass English proficiency requirements of graduate studentgroups at Naresuan University at 60.7 percent and 58 percent respectively and it can predict in overall at 59.35 percent.

Article Details

Section
-