ผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวก 6 ใบ ต่อมโนมติ เรื่องเคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ มโนมติ เรื่องเคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวก 6 ใบ ก่อนเรียนและหลังเรียนใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวมีการวัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดมโนมติ เรื่องเคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยเทคนิค การคิดแบบหมวก 6 ใบ มีมโนมติ เรื่องเคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ก่อนเรียนคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 19.33 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 56.36 และมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 39.57 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 90.58 2) เมื่อเปรียบเทียบกันพบว่า มโนมติและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
Effects of Problem-based Learning Supplemented with sixThinking Hats Technique towards Chemical Basic of Life Conceptand Scientific Problem Solving Ability of Mathayomsuksa 4 Students
ABSTRACT
The purposes of this research were to study and tocompare the chemical basic of life concept and the scientific problem solving ability of Mathayomsuksa 4 students before and after using the Problem-based Learning supplemented with six thinking hats technique. The design of this studywas one group pretest-posttest design. There were three instruments in thisresearch : 1) 6 lesson plans based on the Problem-based learning supplemented with six thinking hats technique, 2) chemical basic of life concept test,and 3) the scientific problem solving ability test. The findings of the study were : 1) students’ chemical basic of life concept posttest mean score before and after instruction were 19.33 and 56.36 percent respectively and scientific problem solving ability posttest mean score before and after instruction were 39.57 and 90.58 percent respectively. both the posttest wereof student’ chemical basic of lifeand scientific problem solving ability after using the Problem-based Learning supplemented with six thinking hats technique. higher than pretest with significantly .01.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย